Sorry, your browser does not support JavaScript!
-
A A A
+
  • youtube
  • facebook
  • English Thai
ข่าว กสม.
ข่าว View : 304
กสม. อังคณา เข้าร่วมเวที "ผู้หญิง การจำคุก และโทษประหารชีวิต" แนะส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยคำนึงถึงมิติเพศสภาพ
          วันที่ 14 มกราคม 2562 นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย ในงาน "ผู้หญิง การจำคุก และโทษประหารชีวิต" จัดโดยสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย
          มิสเตอร์ปิแอร์ ฮักมันน์ หัวหน้าคณะทูตสวิสประจำประเทศไทย ได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนา และกล่าวถึงความสำคัญของการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงโทษประหารชีวิตผู้หญิง โดยกล่าวว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีความเสี่ยงที่จะลงโทษผู้บริสุทธิ์ การทำงานเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตของสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (สสส) จึงเป็นเรื่องที่ทางสถานทูตให้การสนับสนุน เพราะประชาคมโลกและสมาชิก UN ต่างเริ่มยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว
          ดร.แดนทอง บรีน สมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ได้กล่าวถึงภาพรวมของประชาคมโลกต่อโทษประหารชีวิตว่าหลายประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ในประเทศไทยยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ แม้จะมีความพยายามแล้วในการรณรงค์เพื่อยกเลิกโทษดังกล่าว โดยในปี ค.ศ. 2014 รัฐบาลได้มีนโยบายพักโทษประหารชีวิต แต่เมื่อมีการรัฐประหารก็ทำให้นโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกไป ในรอบ 70 ปีที่ผ่านมา มีนักโทษหญิงที่ถูกประหารชีวิตไปแล้ว 3 ราย และร้อยละ 12 ของนักโทษประหารชีวิตที่เป็นผู้หญิงเป็นแม่ที่มีลูกติด ดังนั้น ควรมีการพักโทษ หรือยกเลิกโทษประหารชีวิตผู้หญิง และในอนาคตก็ต้องยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งหมด
          นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวขอบคุณสมาคมสิทธิเสรีภาพที่ให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าและทำรายงานเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ผู้หญิงกับการรายงานนักโทษประหารชีวิตในผู้หญิง ที่ผ่านมาเพราะว่าผู้หญิงเข้าไปเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมมากขึ้น ในรายงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสหประชาชาติ ที่เผยแพร่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา เนื่องในวันแห่งการงดเลือกปฏิบัติในสตรีทุกรูปแบบรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงความรุนแรงต่อผู้หญิงซึ่งส่วนมากเกิดจากคนใกล้ชิด เช่น สามี หรือคนในครอบครัว ในบางประเทศผู้หญิงอาจจะถูกฆ่าเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของครอบครัวโดยครอบครัวของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องมีใครรับผิด เมื่อปลายปีที่แล้วเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมารัฐบาลซาอุดีอาระเบียประหารผู้หญิงชาวอินโดนีเซียซึ่งเคยเป็นแรงงานในบ้าน ซึ่งการประหารชีวิตครั้งนั้นมิได้มีการแจ้งต่อญาติหรือสถานกงสุลก่อน ผู้หญิงชาวอินโดนีเซียคนนั้นถูกประหารชีวิตเนื่องจากเธอฆ่านายจ้างของเธอเองโดยอ้างว่าเป็นการป้องกันตัว เนื่องจากถูกพยายามข่มขืน แต่ข้ออ้างดังกล่าวไม่ทำให้ศาลละเว้นหรือลดโทษจนถูกประหารชีวิตในที่สุด โดยที่ญาติพี่น้องไม่มีโอกาสได้พบปะพูดคุย
          ความรุนแรงต่อผู้หญิงมีปรากฏให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง มีผู้หญิงเข้าไปพัวพันในคดีความรุนแรงในครอบครัว ผู้หญิงส่วนมากไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งไม่ต่างจากประเทศไทย ผู้หญิงทุกระดับได้รับความรุนแรงทางร่างกายโดยครอบครัวของตัวเอง และไม่สามารถหาทางออกจากความทุกข์ทรมานดังกล่าว อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงกลไกที่จะเยียวยาด้านจิตใจจนเกิดอาการที่เรียกว่าภาวะเครียดจากการได้รับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และผู้หญิงกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นต่อไป
          จากการตรวจเยี่ยมเรือนจำพบว่าผู้หญิงหลายคนยอมเสียสละที่จะรับผิดแทนสามีหรือลูกชายของตัวเอง เนื่องจากผู้หญิงมักคิดว่าผู้ชายไม่ควรรับโทษ ควรจะอยู่นอกเรือนจำเพื่อทำมาหากิน ในกรณีที่ผู้หญิงต้องอยู่ในเรือนจำ สามีอาจมีภรรยาใหม่และไม่ดูแลลูกด้วยซ้ำไป ความผิดฐานหนึ่งที่ผู้หญิงต้องได้รับโทษอย่างรุนแรงคือความผิดในการในเรื่องยาเสพติด ผู้หญิงนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาเสพเองก็ยังมีโทษที่สูงมาก นอกจากนี้ กรณีผู้หญิงข้ามเพศก็ยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากเช่นกัน เมื่อถูกนำมาเข้าร่วมกับนักโทษชาย ก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ กรณีหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสมีผู้หญิงรับโทษแทนสามี จากข้อหาการนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมายและถูกจำคุก จากนั้นเธอก็กลายเป็นคนที่ไม่พูดไม่จาและเก็บตัวเงียบ เนื่องจากถูกบีบคั้นทางจิตใจเป็นอย่างสูง เพราะต้องอยู่ในเรือนจำ ในความผิดที่เธอไม่ได้ก่อขึ้น ซึ่งในหลายกรณีทำให้บุตรไม่มีผู้เลี้ยงดู และญาติพี่น้อง ก็มักจะไม่ติดต่อมาดูแลช่วยเหลือ ผู้ต้องขังบางคนถูกตั้งข้อรังเกียจจากครอบครัว มีการจำหน่ายชื่อผู้ต้องขังออกจากทะเบียนราษฎร์ ไม่ยอมรับให้อยู่ในครอบครัว และจะทำให้เสียสิทธิได้หลายประการ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาลสิทธิในการศึกษา เนื่องจากคนที่จะได้รับสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น
          ในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องผู้ต้องขัง เช่นการตรวจร่างกายและการตรวจภายในของผู้ต้องขังหญิง ซึ่งผู้หญิงมีความรู้สึกว่าถูกล่วงล้ำและความเป็นส่วนตัวมากจนเกินไป ซึ่งอาจมีข้อเสนอแนะไปยังทัณฑสถานในประเทศ ทบทวนพิจารณาการตรวจในช่องคลอด ที่มีความถี่มากเกินไป การนำนักจิตวิทยามาเยี่ยมผู้ต้องขัง หากเป็นความสมัครใจของผู้ต้องขังอาจจะเป็นการเยียวยาทางจิตใจ ของผู้ต้องหา การจำกัดสิทธอเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ต้องขังในเรือนจำ อาจเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาทบทวนและปรับปรุง
          ปัจจุบันมีการพิจารณาโทษประหารชีวิตให้ศาลพิจารณาตัดสินได้มากกว่า 50 รายการรวมถึงปัจจุบันที่รวมถึงโทษการค้ามนุษย์ ศาลอาจใช้ดุลพินิจ ในการพิจารณาสัดส่วนการลงโทษที่เหมาะสม สิทธิในการมีชีวิตหรือ Rights To Life ซึ่งมีการอ้างอิงในตามหลักศาสนาเช่นศาสนาพุทธซึ่งจะต้องไม่มีการแก้แค้น ซึ่งแนวความคิดทางหลักการของศาสนาอาจเป็นแนวทางในการนำมาพิจารณาในการยกเลิกโทษประหารชีวิตสังคมไทยยังต้องทบทวนและทำความเข้าใจ ว่าโทษประหารชีวิตไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ
          หลายท่านที่ทำงานเรื่องโทษประหารชีวิต ที่รณรงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต จะทราบที่ว่าสังคมไทยยังมีความเห็นให้ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นข้อ ท้าทายในการรณรงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ดีดิตนเห็นว่า มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยโทษที่ผู้หญิงจะได้รับ ต้องได้สัดส่วนไม่เกินกว่าความผิดที่กระทำ ต้องสื่อเหตุผลและความจำนงของผู้หญิง ซึ่งเป็นอาจเป็นเพียงผู้ที่อยู่ในบ้าน และโดนผลกระทบของการกระทำความผิด และต้องมีการสร้างความเสมอภาคทางเพศในสังคมไทยและต้องมีความพยายามอย่างยิ่งในการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทําให้ผู้หญิงมีความเป็นตัวของตัวเองและไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดและความต้องการของผู้ชาย การกำหนดโทษของผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมต้องคำนึงถึงมิติของเพศสภาพและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่ผู้หญิงต้องแบกรับ และสุดท้ายต้องขอให้กำลังใจแก่ผู้ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อยุติการลงโทษอย่างร้ายแรงและโทษประหารชีวิตต่อผู้หญิง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่เธอไม่ได้ทำ ต้องทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ แต่หากกระบวนการยุติธรรม เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ ให้ความเป็นธรรม และตรวจสอบได้ เข้าใจในมิติของเพศสภาพ ก็จะไม่เกิดความรุนแรงที่เกินไปต่อผู้หญิง ตนเชื่อว่า เราทุกคนมีภารกิจ ที่จะต้องช่วยกันที่จะให้ผู้หญิงได้รับความเป็นธรรมในสังคมต่อไป


© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์ | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์.

  ipv6 ready 
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5397624
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
1266
คน