Sorry, your browser does not support JavaScript!
-
A A A
+
  • youtube
  • facebook
  • English Thai
ข่าว กสม.
ข่าว View : 249
กสม. เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ บนทางแยก : ปรับวาระใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Seminar on Human Rights and Peace at Crossroads: Shaping a New Agenda for Human Rights and Peace Education in the Asia-Pacific)
          เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ บนทางแยก : ปรับวาระใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Seminar on Human Rights and Peace at Crossroads: Shaping a New Agenda for Human Rights and Peace Education in the Asia-Pacific) จัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 109 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนหลักสูตรสิทธิมนุษยชนในระดับปริญญาเอกของสถาบัน IHRP โดยเชิญ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ (SOGI) สหประชาชาติ และผู้เชี่ยวชาญมาให้ทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนและสันติภาพที่ตอบโจทย์สังคม
          ศ.วิทิต ได้ให้มุมมองหลักการเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ทิศทางของหลักสูตรได้แก่ 1. สถานการณ์ที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ เช่น ความขัดแย้งในซีเรีย พม่า ปัญหาโรฮิงญา 2. กรอบแนวคิด เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น 3. มาตรฐานระหว่างประเทศ จะใช้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติได้เป็นจริงแค่ไหน และหากกลไกการคุ้มครองไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ให้ใช้กลไกส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นหรือลุกลาม 4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย 5. การเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ต้องสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เรียน เช่น การทำกรณีศึกษา วิทยานิพนธ์ การสอนพหุวัฒนธรรม หลากหลายภาษา การลงพื้นที่จริงเช่น ค่ายผู้อพยพ รับรู้ปัญหาของกลุ่มเปราะบางให้มากขึ้น และใช้สหวิทยาการเป็นเครื่องมือในการสอน
          ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ได้ให้มุมมองที่หลากหลาย เช่น 1. ต้องการเห็นการบูรณาการเรื่องสิทธิมนุษยชนในการเรียนการสอนของคณะอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิมนุษยชนและการสาธารณสุข 2. การเรียนการสอนต้องการความอิสระและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสูง 3. การใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking skills) มีความสำคัญมากในการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชน 4. เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ทั้งกว้างและลึก ไม่สามารถทำหลักสูตรให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่ขอให้สร้างความเข้าใจพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน เรียนจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 


© 2015 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. All Right Reserved.
นโยบายเว็ปไซต์ | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์.

  ipv6 ready 
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด
5375451
คน
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้
82
คน