Sorry, your browser does not support JavaScript!
ข่าว View : 0
รัฐบาลไทยและภาคธุรกิจควรประกันให้มีการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
แถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและภาคธุรกิจควรประกันให้มีการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน(กรุงเทพฯ 31 พฤษภาคม 2560) พวกเราซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ลงชื่อด้านท้าย เรียกร้องให้ทางการไทยและภาคธุรกิจในประเทศ ให้ยึดมั่นตามหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)ในวันนี้ หน่วยงานของรัฐบาล ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาคธุรกิจและตัวแทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้าร่วมการสัมมนาเพื่ออภิปรายถึงการดำเนินงานตามและการส่งเสริมหลักปฏิบัตินี้ในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมต่างเห็นชอบที่จะต้องรณรงค์สร้างความรับรู้และความเข้าใจ ต่อบทบาทของสาธารณะและภาคเอกชนตามกรอบของหลักปฏิบัตินี้หลักปฏิบัตินี้ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2554 ประกอบด้วยหลักการพื้นฐานและหลักการเชิงปฏิบัติ 31 ข้อ อธิบายถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐและวิสาหกิจต่าง ๆ ที่จะต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของการดำเนินธุรกิจเราชื่นชมกับความพยามของรัฐบาลไทยและหน่วยงานธุรกิจของไทย ในการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัตินี้ อย่างไรก็ดี เรายังคงกังวลกับข้อกล่าวหาเรื่องการปฏิบัติมิชอบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลมาจากการกระทำของหน่วยงานธุรกิจและการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลในไทย โดยที่ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำละเมิดนักปกป้องสิทธิมนุษยชนยังคงต้องเผชิญกับการตอบโต้โดยไม่มีการตรวจสอบ อันเป็นผลมาจากการที่พวกเขาดำเนินกิจกรรมที่ชอบธรรม เพื่อแก้ปัญหาข้อกล่าวหาว่ามีการปฏิบัติมิชอบที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานธุรกิจและตัวแทนของรัฐ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ต้องเผชิญกับการโจมตี การข่มขู่ และการคุกคามประการต่าง ๆ โดยมักไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอจากทางการไทย หน่วยงานธุรกิจและทางการไทยยังได้แจ้งข้อหาที่กุขึ้นมาอย่างปราศจากความจริง เพื่อเอาผิดกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานธุรกิจ ทางการไทยและหน่วยงานธุรกิจใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ข้อบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะซึ่งจำกัดสิทธิในการรวมตัว รวมถึงใช้อำนาจอย่างกว้างขวางของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อพุ่งเป้าโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เนื้อหาของกฎหมายเหล่านี้และบทลงโทษที่รุนแรงไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศนอกจากนั้น การดำเนินธุรกิจที่คาดว่าจะมีผลกระทบร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน มักเดินหน้าต่อไปโดยปราศจากการปรึกษาหารืออย่างจริงจังหรือการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้รับผลกระทบในกระบวนการตัดสินใจ ทั้งนี้ ยังพบประเด็นเรื่องการขาดความโปร่งใสในการกำกับดูแลกิจการและการลงทุนของหน่วยงานธุรกิจในประเทศไทยในบรรดาภาระหน้าที่ต่าง ๆ หลักปฏิบัตินี้ยังกำหนดให้รัฐควร “คุ้มครองไม่ให้เกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนในดินแดนและ/หรือเขตอำนาจของตน โดยเป็นการกระทำของบุคคลที่สามรวมทั้งหน่วยงานทางธุรกิจ” ประกัน “ไม่ให้มีการขัดขวางการดำเนินงานที่ชอบธรรมและสันติของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” และประกันว่าหน่วยงานด้านธุรกิจจะเข้าร่วม “กับการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อย่างเหมาะสมกับขนาดของหน่วยงานธุรกิจและธรรมชาติและลักษณะการดำเนินงานธุรกิจนั้น”ตามหลักปฏิบัตินี้ เราเรียกร้องรัฐบาลไทยและหน่วยงานธุรกิจให้ประกันให้มีการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และสุขภาพ อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของภาครัฐและธุรกิจ หรือมาจากผลความสัมพันธ์ทางธุรกิจของรัฐบาลคุ้มครองการดำเนินงานอย่างชอบธรรมของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลไทยและหน่วยงานธุรกิจควรป้องกันไม่ให้มีการดำเนินคดีโดยไม่จำเป็นต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งทำงานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของการดำเนินธุรกิจลดการเอาผิดทางอาญาต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทใด ๆ และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในประเทศ รวมทั้งประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศรับรองสิทธิการเข้าถึงการเยียวยาอย่างมีประสิทธิผล ในกรณีที่เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผลกระทบอื่น ๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ รวมถึงให้การเยียวยาต่อการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางการไทยต้องรับรองว่าชุมชนที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงกลไกต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรม เช่น กองทุนยุติธรรม และประโยชน์จากพระราชบัญญัติการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มีตัวแทนทางกฎหมายและการคุ้มครองอย่างเป็นทางการจากความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้คุ้มครองไม่ให้เกิดการตอบโต้ ทั้งการโจมตีทำร้าย การข่มขู่และการคุกคามต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รัฐบาลไทยควรดำเนินการให้มีการสอบสวนอย่างไม่ลำเอียงและอย่างเป็นอิสระ กรณีที่มีรายงานการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษและประกันให้มีการเยียวยาอย่างเป็นผลต่อผู้เสียหาย
ตอบรับคำขอของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และคณะทำงานของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน บรรษัทข้ามชาติ และกลุ่มธุรกิจ เพื่อมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับการดำเนินงานของกลไกดังกล่าว
 
องค์กรที่ร่วมลงนาม:
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล
ประเทศไทยสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (ฟอรั่ม—เอเชีย)
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
กลุ่มด้วยใจ
มูลนิธิบูรณะนิเวศ
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ฟอร์ติฟายไรท์
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดหกหมู่บ้าน จ.เลย
เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ
เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
องค์กรโพรเทคชัน อินเตอร์เนชันแนล
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
โรงน้ำชา
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

ที่มา:https://voicefromthais.wordpress.com/2017/05/31/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%84/