การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 48/2564 (23) ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 4

16/11/2564 22

          วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 48/2564 (23) ณ ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมีวาระการประชุม ดังนี้
          1. พิจารณาร่างรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล กรณีกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกภาพใบอนุญาตขับขี่โดยไม่ได้ให้ความยินยอม
          2. พิจารณาร่างรายงานผลการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 เรื่อง
                   - สิทธิและสถานะบุคคลอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิคนพิการ กรณีคนพิการขอความช่วยเหลือให้ได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด (หลักดินแดน)
                   - สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า
          3. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรรับไว้เป็นคำร้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 7 เรื่อง
          4. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เห็นควรให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (หยิบยก) เรื่อง สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิส่วนบุคคล กรณี สื่อมวลชนใช้ถ้อยคำที่กระทบต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและเผยแพร่อัตลักษณ์ของผู้ต้องหาต่อสาธารณะ
          5. พิจารณาเรื่องที่เห็นควรรับไว้ดำเนินการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน กรณี ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานรัฐ
          6. พิจารณารายงานผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ยุติเรื่องตามมาตรา 39 (7) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เรื่อง สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล กรณีกล่าวอ้างว่าถูกติดตามคุกคามจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
          7. พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ผู้ร้องขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีกล่าวอ้างว่าคำสั่งยกเลิกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ของสำนักงานเขตคลองสามวากระทบต่อสิทธิผู้ร้อง
          8. พิจารณาเห็นชอบให้แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์สิตางศุ์ พิลัยหล้า อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ กรรมการ สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) และนายสันติพงษ์ มูลฟอง ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อมูลประกอบการจัดทำรายงาน สิทธิชุมชน กรณีกล่าวอ้างว่า กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม – อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล หรือ “โครงการผันน้ำยวมสู่เขื่อนสาละวิน”

เลื่อนขึ้นด้านบน