วันที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 10/2566 โดยมีวาระสำคัญดังนี้
1. กสม. ชี้กรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผา และแทงจนเสียชีวิต สะท้อนปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว เรียกร้องสังคมร่วมดูแล เข้าช่วยเหลือเมื่อพบเหตุ
1. กสม. ชี้กรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผา และแทงจนเสียชีวิต สะท้อนปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว เรียกร้องสังคมร่วมดูแล เข้าช่วยเหลือเมื่อพบเหตุ
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่ปรากฏข่าวที่น่าสลดใจ กรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผา และแทงจนเสียชีวิต ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยพลเมืองดีที่เข้าช่วยเหลือได้รับบาดเจ็บด้วยนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้ที่สูญเสีย และขอชื่นชมพลเมืองดีที่เข้าให้การช่วยเหลือเมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรงดังกล่าว นายวสันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่ง ที่ กสม.ให้ความสำคัญและกำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในปีนี้ กรณีนี้นอกจากจะนำมาซึ่งความสูญเสียจากการกระทำที่โหดร้ายทารุณ อีกด้านยังสะท้อนให้เห็นถึงแบบอย่างที่น่าชื่นชมของพลเมืองดีที่เข้าให้ความช่วยเหลือเมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรง ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่พบเห็น การกระทำความรุนแรงในครอบครัวต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การช่วยเหลือ โดยไม่ต้องให้ผู้ถูกกระทำ ความรุนแรงหรือคนในครอบครัวเท่านั้นที่ต้องแจ้งเหตุ ทั้งนี้ ผู้แจ้งโดยสุจริต มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครองด้วย ขณะนี้สำนักงาน กสม.ได้ร่วมมือกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดทำสื่อรณรงค์ชุด “เรื่องผัวเมียยุ่งได้” เพื่อเผยแพร่รณรงค์ให้สังคมตระหนักและมีความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่เพิกเฉยกรณีพบเหตุความรุนแรงในครอบครัว และเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม กสม. ขอเน้นย้ำและเรียกร้องให้ทุกคนในสังคมตระหนักว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ผู้หญิงมักจะเผชิญนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแล การบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้กระทำ ไม่กระทำ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่อคน ในครอบครัวโดยมิชอบนั้น มีความผิดทางอาญา “ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวของผู้อื่นรวมทั้งครอบครัวของตนเอง เป็นเรื่องที่ทุกคนที่ พบเห็นหรือถูกกระทำต้องไม่เพิกเฉย ไม่ยอมจำนน ไม่คิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง และไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องปกติที่คุ้นชินในสังคม โดยต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าให้ความช่วยเหลือทันทีที่เกิดเหตุ เพราะทุกความรุนแรงที่เหยื่อถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายกันด้วยคำพูดหรือการทำร้ายร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ การใช้ชีวิต ไปจนถึง ความสูญเสียต่อชีวิตอันเป็นการละเมิดสิทธิที่ร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญาด้วย” นายวสันต์ กล่าว
2. กสม. ตรวจสอบกรณีบริษัทเอกชนกำหนดเงื่อนไขให้ผู้สมัครงานตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานและปฏิเสธไม่รับเข้าทำงานเนื่องจากเป็นผู้ติดเชื้อ เป็นการละเมิดสิทธิฯ สถานพยาบาลที่รับตรวจและแจ้งผล ละเมิดด้วย
2. กสม. ตรวจสอบกรณีบริษัทเอกชนกำหนดเงื่อนไขให้ผู้สมัครงานตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานและปฏิเสธไม่รับเข้าทำงานเนื่องจากเป็นผู้ติดเชื้อ เป็นการละเมิดสิทธิฯ สถานพยาบาลที่รับตรวจและแจ้งผล ละเมิดด้วย
นายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 เปิดเผยว่า คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่งระบุว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ผู้ร้องได้สมัครงานกับบริษัทเอกชนซึ่งประกอบกิจการผลิตและจัดจำหน่ายสุขภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งในพื้นที่ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เมื่อผู้ร้องผ่านการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ได้แจ้งให้ผู้ร้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งพยาบาลได้เจาะเลือดผู้ร้องโดยไม่แจ้งว่าจะมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี จากนั้นโรงพยาบาลได้ส่งผลการตรวจสุขภาพของผู้ร้องไปยังบริษัทฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องได้รับแจ้งว่าบริษัทฯ ไม่สามารถรับผู้ร้องเข้าทำงานได้เนื่องจากเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 บัญญัติให้การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ด้วยเหตุความแตกต่างในสภาพทางกายหรือสุขภาพจะกระทำไม่ได้ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้กำหนดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับประกันถึงการมีอยู่ของสิทธิในการทำงาน ซึ่งการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุทางสุขภาพอันรวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์นั้น คณะกรรมการประจำกติกา ICESCR ได้มีความเห็นทั่วไปหมายเลข 18 ถือว่าเป็นการจำกัดการเข้าถึงสิทธิ ในการทำงาน นอกจากนี้ นโยบายการตรวจเลือดก่อนรับเข้าทำงานยังขัดต่อแนวปฏิบัติเรื่องโรคเอดส์ในโลกแห่งการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งวางแนวปฏิบัติไว้ว่า ไม่ควรมีการตรวจหาเชื้อเอดส์ในกระบวนการสรรหาบุคคลหรือการต่ออายุการจ้างงาน สอดคล้องกับหลักการตามคู่มือด้านเอชไอวีและสิทธิมนุษยชนสำหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จัดทำโดยโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ซึ่งวางหลักการว่า มาตรการดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยตรง
กรณีตามคำร้องนี้ มีประเด็นที่ กสม. พิจารณาแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การที่บริษัทฯ กำหนดให้มีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงานเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เห็นว่า การที่บริษัทฯ กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวและปฏิเสธรับผู้ร้องเข้าทำงานเพราะปรากฏผลการตรวจสุขภาพว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งที่ข้อมูลวิชาการทางการแพทย์ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหา เชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงานเนื่องจากผู้ติดเชื้อสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้เกิดข้อจำกัด ในการเข้าถึงสิทธิในการทำงานและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประเด็นที่สอง การดำเนินการของโรงพยาบาลในการรับตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวีแก่ ผู้ร้องในฐานะผู้สมัครงาน และการแจ้งผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีไปยังบริษัทฯ โดยตรง เป็นการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เห็นว่า แม้โรงพยาบาลผู้รับตรวจสุขภาพจะชี้แจงว่าได้ให้ผู้เข้ารับการตรวจลงชื่อยินยอมในหนังสือแสดงความยินยอมก่อนเข้ารับการตรวจและยินยอมให้แจ้งผลการตรวจให้แก่บุคคลอื่นแล้ว แต่การให้ความยินยอมในลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานแสดงความยินยอมตามแบบฟอร์มซึ่งจัดทำขึ้นเป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลแก่ผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อประกอบการตัดสินใจและให้ความยินยอมก่อนเจาะเลือดตรวจหาเชื้ออย่างเคร่งครัด ตามแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเอชไอวีที่ประกาศโดยแพทยสภา ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2557 ซึ่งกำหนดไว้ว่า การตรวจ การติดเชื้อเอชไอวีในบุคคลทั่วไป แพทย์ต้องจัดให้มีการให้คำปรึกษาก่อนตรวจเป็นรายบุคคลหรือให้อ่านเอกสาร “ข้อควรรู้ก่อนการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี” และต้องมีการขอและให้ความยินยอมที่มีหลักฐานเป็น ลายลักษณ์อักษร ส่วนการแจ้งผลการตรวจต้องแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบเป็นการส่วนตัว และต้องรักษาความลับอย่างเคร่งครัดโดยไม่แจ้งผลให้ผู้อื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับการตรวจหรือ ตามกฎหมาย โดยผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของบุคคล ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ด้วย กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่การให้ความยินยอมโดยอิสระบนพื้นฐานความสมัครใจของผู้เข้ารับการตรวจอย่างแท้จริง ในชั้นนี้ จึงเห็นว่า การที่โรงพยาบาลรับตรวจหาเชื้อเอชไอวีของผู้สมัครงานให้กับบริษัทฯ และส่งผลตรวจเอชไอวีให้แก่บริษัทฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยสมัครใจจากผู้เข้ารับการตรวจ เป็นการสนับสนุนให้นายจ้างนำผลการตรวจไปใช้เป็นเงื่อนไขพิจารณาว่าผู้สมัครงาน รายใดขาดคุณสมบัติในการเข้าทำงาน จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานนั้น กสม. ได้เคยมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบันยังคงปรากฏข้อร้องเรียนทำนองเดียวกับกรณีตามคำร้องนี้อยู่ ทำให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติแห่งชาติที่เกี่ยวกับ การไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่า ไม่สามารถบังคับใช้ต่อหน่วยงานเอกชนได้ อีกทั้งพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่มีสภาพบังคับเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในเรื่องสิทธิ การทำงานอย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยเหตุนี้ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 จึงมีข้อเสนอแนะต่อบริษัทและโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวในฐานะผู้ถูกร้อง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สมาคมโรงพยาบาลเอกชน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงยุติธรรม สรุปได้ดังนี้
(1) ให้บริษัทฯ ตามคำร้องนี้ ยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงาน พนักงาน หรือลูกจ้างของนายจ้างหรือสถานประกอบการไม่ว่าในขั้นตอนการรับสมัครงาน ขณะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับการจ้างงานหรือเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน และดำเนินการตามแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2552 รวมถึงประกาศกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรค ในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 และให้โรงพยาบาลเอกชนตามคำร้องยกเลิกรายการตรวจหาเชื้อเอชไอวีแก่ผู้สมัครงานหรือพนักงานในนิติกรรมใด ๆ ที่ทำไว้กับบริษัทเอกชนหรือหน่วยงาน อื่นใด หากมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการสมัครงานหรือพิจารณารับเข้าทำงาน รวมทั้งปฏิเสธการแจ้งผลตรวจหาเชื้อเอชไอวีในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผล การตรวจสอบนี้
(2) ให้กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สร้างความรู้ความเข้าใจให้นายจ้างและสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงานตามข้อ (1) โดยเฉพาะกรณีให้ยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานหรือใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการรับสมัครงาน รวมถึงการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการเอดส์ในสถานประกอบการ (ASO Thailand) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกำหนดนโยบายให้สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่อยู่ในการกำกับดูแลให้ความร่วมมือ ในการดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเอดส์ประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 - 2573
(3) กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน ควรร่วมกันสนับสนุนและประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ได้ตระหนักว่า “ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีสามารถเรียนได้ ทำงานได้ อยู่ร่วมกันได้” และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการรักษาและการป้องกันที่มีความก้าวหน้าและเป็นข้อมูลใหม่ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะไม่ทราบ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าสู่กระบวนการรักษาและกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง จะไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่น (U=U ย่อมาจาก Undetectable = Untransmittable คือ ไม่พบเชื้อ เท่ากับ ไม่ถ่ายทอดเชื้อ)
(4) กระทรวงสาธารณสุขควรบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ การใช้กลไกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล การบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วยซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) กับสถานบริการทางการแพทย์ที่มีบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเปิดเผยผลการตรวจต่อบุคคลอื่นไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่ รวมถึงการดำเนินการให้มีมาตรการเชิงลงโทษต่อสถานพยาบาลที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(5) กระทรวงแรงงานควรดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเร่งประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโลกแห่งการทำงาน กำหนดให้การบังคับตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงาน ตลอดจนการนำผลตรวจมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมาย โดยให้มีสภาพบังคับและมีมาตรการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมควรเร่งเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ... ต่อคณะรัฐมนตรี โดยพิจารณาให้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงหลักการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งการติดเชื้อเอชไอวีที่กระทบต่อสิทธิการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักกฎหมาย กติกา และแนวปฏิบัติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
9 มีนาคม 2566
09-03-66-แถลงข่าวครั้งที่10-2566_.pdf
กสม. พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 บัญญัติให้การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ด้วยเหตุความแตกต่างในสภาพทางกายหรือสุขภาพจะกระทำไม่ได้ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้กำหนดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับประกันถึงการมีอยู่ของสิทธิในการทำงาน ซึ่งการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุทางสุขภาพอันรวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์นั้น คณะกรรมการประจำกติกา ICESCR ได้มีความเห็นทั่วไปหมายเลข 18 ถือว่าเป็นการจำกัดการเข้าถึงสิทธิ ในการทำงาน นอกจากนี้ นโยบายการตรวจเลือดก่อนรับเข้าทำงานยังขัดต่อแนวปฏิบัติเรื่องโรคเอดส์ในโลกแห่งการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งวางแนวปฏิบัติไว้ว่า ไม่ควรมีการตรวจหาเชื้อเอดส์ในกระบวนการสรรหาบุคคลหรือการต่ออายุการจ้างงาน สอดคล้องกับหลักการตามคู่มือด้านเอชไอวีและสิทธิมนุษยชนสำหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จัดทำโดยโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ซึ่งวางหลักการว่า มาตรการดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยตรง
กรณีตามคำร้องนี้ มีประเด็นที่ กสม. พิจารณาแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การที่บริษัทฯ กำหนดให้มีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงานเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เห็นว่า การที่บริษัทฯ กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวและปฏิเสธรับผู้ร้องเข้าทำงานเพราะปรากฏผลการตรวจสุขภาพว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งที่ข้อมูลวิชาการทางการแพทย์ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหา เชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงานเนื่องจากผู้ติดเชื้อสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้เกิดข้อจำกัด ในการเข้าถึงสิทธิในการทำงานและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประเด็นที่สอง การดำเนินการของโรงพยาบาลในการรับตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวีแก่ ผู้ร้องในฐานะผู้สมัครงาน และการแจ้งผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีไปยังบริษัทฯ โดยตรง เป็นการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เห็นว่า แม้โรงพยาบาลผู้รับตรวจสุขภาพจะชี้แจงว่าได้ให้ผู้เข้ารับการตรวจลงชื่อยินยอมในหนังสือแสดงความยินยอมก่อนเข้ารับการตรวจและยินยอมให้แจ้งผลการตรวจให้แก่บุคคลอื่นแล้ว แต่การให้ความยินยอมในลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานแสดงความยินยอมตามแบบฟอร์มซึ่งจัดทำขึ้นเป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลแก่ผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อประกอบการตัดสินใจและให้ความยินยอมก่อนเจาะเลือดตรวจหาเชื้ออย่างเคร่งครัด ตามแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเอชไอวีที่ประกาศโดยแพทยสภา ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2557 ซึ่งกำหนดไว้ว่า การตรวจ การติดเชื้อเอชไอวีในบุคคลทั่วไป แพทย์ต้องจัดให้มีการให้คำปรึกษาก่อนตรวจเป็นรายบุคคลหรือให้อ่านเอกสาร “ข้อควรรู้ก่อนการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี” และต้องมีการขอและให้ความยินยอมที่มีหลักฐานเป็น ลายลักษณ์อักษร ส่วนการแจ้งผลการตรวจต้องแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบเป็นการส่วนตัว และต้องรักษาความลับอย่างเคร่งครัดโดยไม่แจ้งผลให้ผู้อื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับการตรวจหรือ ตามกฎหมาย โดยผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของบุคคล ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ด้วย กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่การให้ความยินยอมโดยอิสระบนพื้นฐานความสมัครใจของผู้เข้ารับการตรวจอย่างแท้จริง ในชั้นนี้ จึงเห็นว่า การที่โรงพยาบาลรับตรวจหาเชื้อเอชไอวีของผู้สมัครงานให้กับบริษัทฯ และส่งผลตรวจเอชไอวีให้แก่บริษัทฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยสมัครใจจากผู้เข้ารับการตรวจ เป็นการสนับสนุนให้นายจ้างนำผลการตรวจไปใช้เป็นเงื่อนไขพิจารณาว่าผู้สมัครงาน รายใดขาดคุณสมบัติในการเข้าทำงาน จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานนั้น กสม. ได้เคยมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบันยังคงปรากฏข้อร้องเรียนทำนองเดียวกับกรณีตามคำร้องนี้อยู่ ทำให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติแห่งชาติที่เกี่ยวกับ การไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่า ไม่สามารถบังคับใช้ต่อหน่วยงานเอกชนได้ อีกทั้งพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่มีสภาพบังคับเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในเรื่องสิทธิ การทำงานอย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยเหตุนี้ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 จึงมีข้อเสนอแนะต่อบริษัทและโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวในฐานะผู้ถูกร้อง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สมาคมโรงพยาบาลเอกชน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงยุติธรรม สรุปได้ดังนี้
(1) ให้บริษัทฯ ตามคำร้องนี้ ยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงาน พนักงาน หรือลูกจ้างของนายจ้างหรือสถานประกอบการไม่ว่าในขั้นตอนการรับสมัครงาน ขณะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับการจ้างงานหรือเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน และดำเนินการตามแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2552 รวมถึงประกาศกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรค ในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 และให้โรงพยาบาลเอกชนตามคำร้องยกเลิกรายการตรวจหาเชื้อเอชไอวีแก่ผู้สมัครงานหรือพนักงานในนิติกรรมใด ๆ ที่ทำไว้กับบริษัทเอกชนหรือหน่วยงาน อื่นใด หากมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการสมัครงานหรือพิจารณารับเข้าทำงาน รวมทั้งปฏิเสธการแจ้งผลตรวจหาเชื้อเอชไอวีในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผล การตรวจสอบนี้
(2) ให้กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สร้างความรู้ความเข้าใจให้นายจ้างและสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงานตามข้อ (1) โดยเฉพาะกรณีให้ยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานหรือใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการรับสมัครงาน รวมถึงการจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการเอดส์ในสถานประกอบการ (ASO Thailand) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกำหนดนโยบายให้สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่อยู่ในการกำกับดูแลให้ความร่วมมือ ในการดำเนินการเพื่อยุติปัญหาเอดส์ประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 - 2573
(3) กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน ควรร่วมกันสนับสนุนและประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ได้ตระหนักว่า “ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีสามารถเรียนได้ ทำงานได้ อยู่ร่วมกันได้” และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการรักษาและการป้องกันที่มีความก้าวหน้าและเป็นข้อมูลใหม่ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะไม่ทราบ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าสู่กระบวนการรักษาและกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง จะไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่น (U=U ย่อมาจาก Undetectable = Untransmittable คือ ไม่พบเชื้อ เท่ากับ ไม่ถ่ายทอดเชื้อ)
(4) กระทรวงสาธารณสุขควรบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ การใช้กลไกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล การบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วยซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) กับสถานบริการทางการแพทย์ที่มีบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเปิดเผยผลการตรวจต่อบุคคลอื่นไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่ รวมถึงการดำเนินการให้มีมาตรการเชิงลงโทษต่อสถานพยาบาลที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(5) กระทรวงแรงงานควรดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเร่งประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโลกแห่งการทำงาน กำหนดให้การบังคับตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงาน ตลอดจนการนำผลตรวจมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมาย โดยให้มีสภาพบังคับและมีมาตรการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมควรเร่งเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. ... ต่อคณะรัฐมนตรี โดยพิจารณาให้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงหลักการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งการติดเชื้อเอชไอวีที่กระทบต่อสิทธิการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักกฎหมาย กติกา และแนวปฏิบัติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
9 มีนาคม 2566
09-03-66-แถลงข่าวครั้งที่10-2566_.pdf