วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้
และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 41/2565 โดยมีวาระสำคัญดังนี้
1. กสม.ชี้การประเมินและเทียบโอนผลการเรียนของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อันนำไปสู่การยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียนของเด็ก เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก กรณีหน่วยงานของรัฐยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.1) ของนักเรียนรายหนึ่ง ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา โดย กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่งระบุว่า ผู้ร้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ตให้จัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) ให้แก่บุตรสาวจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แต่ได้จัดการศึกษารูปแบบดังกล่าวให้แก่บุตรสาวจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาในปีการศึกษา 2563 ผู้ร้องได้ให้บุตรสาวสมัครเข้ารับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในหลักสูตร International Education Program กับโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เนื่องจากเข้าใจว่าหลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตร International Program แต่เมื่อบุตรสาวได้รับใบแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวระบุว่าเป็นหลักสูตร English Program โดยได้ทราบในภายหลังว่าโรงเรียนเอกชนแห่งดังกล่าวได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program: EP) เท่านั้น มิใช่หลักสูตร International Program เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติ ผู้ร้องจึงประสานข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 ซึ่งได้แนะนำให้โรงเรียนเทียบโอนผลการเรียนของบุตรสาวจากการศึกษานอกระบบมาสู่การศึกษาในระบบ ต่อมาโรงเรียนได้ออกระเบียนแสดงผลการเรียน 5 ภาคการศึกษาให้แก่บุตรสาวของผู้ร้อง ซึ่งปรากฏรายวิชาเช่นเดียวกับนักเรียนรายอื่นที่เข้ารับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–2 ตามหลักสูตรปกติ ทำให้ผู้ร้องสงสัยในความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเดือนเมษายน 2564 บุตรสาวของผู้ร้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ร้องจึงยื่นขอระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.1) จากโรงเรียน แต่โรงเรียนแจ้งว่า
ไม่สามารถให้ดูเอกสารดังกล่าวได้ และปรากฏข้อเท็จจริงว่าโรงเรียนมีหนังสือถึงสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 ขอให้ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 แก่บุตรสาวของผู้ร้อง ด้วยเหตุผลเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ผู้ร้องนำมาใช้สมัครเข้ารับการศึกษาและเทียบโอนผลการเรียนให้แก่บุตรสาวมาจากสถาบันการศึกษาที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 จึงได้ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ทำให้บุตรสาวของผู้ร้องไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ ผู้ร้องเห็นว่า
การกระทำของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาของบุตรสาว จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง หน่วยงานผู้ถูกร้อง หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า การที่บุตรสาวของผู้ร้องได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเอกชนดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าหลักสูตร International Education Program ของโรงเรียนเป็นหลักสูตร International Program โดยมีผู้ปกครองที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเช่นเดียวกับผู้ร้องอีกจำนวนไม่น้อย ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนก็มิได้ชี้แจงให้
กลุ่มผู้ปกครองเข้าใจถึงความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรให้ชัดเจน ดังนั้น การประชาสัมพันธ์หลักสูตร International Education Program ของโรงเรียน อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปได้ อย่างไรก็ดีประเด็นดังกล่าวมีการฟ้องร้องคดีกันในศาลแล้ว ซึ่งทำให้ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กสม.
จึงเห็นควรยุติเรื่องและมีข้อเสนอแนะต่อไป
สำหรับประเด็นที่โรงเรียนได้ประเมินและเทียบโอนผลการเรียนของบุตรสาวผู้ร้อง จากการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาเป็นผลการเรียนตามหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–2 เพื่อรับบุตรสาวของผู้ร้องเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมิได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการศึกษาให้ถี่ถ้วน อันนำไปสู่การที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ของบุตรสาวผู้ร้อง
ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ต้องใช้สำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นนั้น เห็นว่า
การที่โรงเรียนละเลยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ผู้ร้องนำมาใช้สมัครเข้ารับการศึกษาและเทียบโอนผลการเรียนให้แก่บุตรสาวของผู้ร้องจนล่วงเลยระยะเวลากว่า 1 ปี เป็นเหตุให้บุตรสาวของผู้ร้องต้องเสียเวลา 1 ปีการศึกษาโดยไม่ได้รับวุฒิการศึกษาและขาดโอกาสในการศึกษาต่อ
ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุตรสาวของผู้ร้องอันส่งผลกระทบต่อประโยชน์สูงสุดของเด็กโดยเฉพาะสิทธิทางการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ร้องจัดการศึกษาโดยครอบครัวตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้แก่บุตรสาวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาของบุตรสาวเช่นเดียวกัน เนื่องจากทำให้บุตรสาวไม่ได้รับการติดตามและประเมินผลการศึกษาจากหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจ ซึ่งอาจทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษาของประเทศด้วย
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่
21 พฤศจิกายน 2565 จึงมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน สรุปได้ดังนี้
1) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี
การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการศึกษาของโรงเรียนที่นำไปสู่การยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1
ของบุตรสาวผู้ร้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน
90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้
2) ให้โรงเรียนเอกชนผู้ถูกร้องกำชับให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง พร้อมทั้งจัดทำคู่มืออธิบายนิยาม ลักษณะ และความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรการศึกษา
อย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนต่อหลักสูตรการศึกษา
3) ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำกับดูแลการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกรณีปัญหาตามคำร้องนี้อย่างเคร่งครัด
4) ให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณียกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก โดยควรคำนึงถึง
การรับฟังข้อเท็จจริงจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน ก่อนมีคำสั่งยกเลิกเอกสารดังกล่าว นอกจากนี้ให้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังไม่ให้เด็กที่เข้ารับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยหลุดจากระบบการศึกษาของประเทศ โดยควรจัดทำระบบเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้เรียนในแต่ละระบบการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อประกันและรับรองสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และหลักสิทธิมนุษยชนสากล
ที่เกี่ยวข้องรับรองไว้
2. กสม. ชี้กรณีเจ้าหน้าที่ล่อซื้อประเวณีและละเลยให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวการจับกุม ตลอดจนการตรวจหาสารเสพติดในลักษณะเหมารวมโดยไม่มีเหตุอันควรสงสัย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปีที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาในปีการศึกษา 2563 ผู้ร้องได้ให้บุตรสาวสมัครเข้ารับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในหลักสูตร International Education Program กับโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เนื่องจากเข้าใจว่าหลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตร International Program แต่เมื่อบุตรสาวได้รับใบแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวระบุว่าเป็นหลักสูตร English Program โดยได้ทราบในภายหลังว่าโรงเรียนเอกชนแห่งดังกล่าวได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program: EP) เท่านั้น มิใช่หลักสูตร International Program เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติ ผู้ร้องจึงประสานข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 ซึ่งได้แนะนำให้โรงเรียนเทียบโอนผลการเรียนของบุตรสาวจากการศึกษานอกระบบมาสู่การศึกษาในระบบ ต่อมาโรงเรียนได้ออกระเบียนแสดงผลการเรียน 5 ภาคการศึกษาให้แก่บุตรสาวของผู้ร้อง ซึ่งปรากฏรายวิชาเช่นเดียวกับนักเรียนรายอื่นที่เข้ารับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–2 ตามหลักสูตรปกติ ทำให้ผู้ร้องสงสัยในความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเดือนเมษายน 2564 บุตรสาวของผู้ร้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ร้องจึงยื่นขอระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.1) จากโรงเรียน แต่โรงเรียนแจ้งว่า
ไม่สามารถให้ดูเอกสารดังกล่าวได้ และปรากฏข้อเท็จจริงว่าโรงเรียนมีหนังสือถึงสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 ขอให้ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 แก่บุตรสาวของผู้ร้อง ด้วยเหตุผลเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ผู้ร้องนำมาใช้สมัครเข้ารับการศึกษาและเทียบโอนผลการเรียนให้แก่บุตรสาวมาจากสถาบันการศึกษาที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี เขต 2 จึงได้ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ทำให้บุตรสาวของผู้ร้องไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ ผู้ร้องเห็นว่า
การกระทำของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาของบุตรสาว จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง หน่วยงานผู้ถูกร้อง หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า การที่บุตรสาวของผู้ร้องได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเอกชนดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าหลักสูตร International Education Program ของโรงเรียนเป็นหลักสูตร International Program โดยมีผู้ปกครองที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเช่นเดียวกับผู้ร้องอีกจำนวนไม่น้อย ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนก็มิได้ชี้แจงให้
กลุ่มผู้ปกครองเข้าใจถึงความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรให้ชัดเจน ดังนั้น การประชาสัมพันธ์หลักสูตร International Education Program ของโรงเรียน อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปได้ อย่างไรก็ดีประเด็นดังกล่าวมีการฟ้องร้องคดีกันในศาลแล้ว ซึ่งทำให้ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กสม.
จึงเห็นควรยุติเรื่องและมีข้อเสนอแนะต่อไป
สำหรับประเด็นที่โรงเรียนได้ประเมินและเทียบโอนผลการเรียนของบุตรสาวผู้ร้อง จากการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาเป็นผลการเรียนตามหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–2 เพื่อรับบุตรสาวของผู้ร้องเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมิได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการศึกษาให้ถี่ถ้วน อันนำไปสู่การที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ของบุตรสาวผู้ร้อง
ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ต้องใช้สำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นนั้น เห็นว่า
การที่โรงเรียนละเลยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ผู้ร้องนำมาใช้สมัครเข้ารับการศึกษาและเทียบโอนผลการเรียนให้แก่บุตรสาวของผู้ร้องจนล่วงเลยระยะเวลากว่า 1 ปี เป็นเหตุให้บุตรสาวของผู้ร้องต้องเสียเวลา 1 ปีการศึกษาโดยไม่ได้รับวุฒิการศึกษาและขาดโอกาสในการศึกษาต่อ
ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุตรสาวของผู้ร้องอันส่งผลกระทบต่อประโยชน์สูงสุดของเด็กโดยเฉพาะสิทธิทางการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ร้องจัดการศึกษาโดยครอบครัวตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้แก่บุตรสาวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาของบุตรสาวเช่นเดียวกัน เนื่องจากทำให้บุตรสาวไม่ได้รับการติดตามและประเมินผลการศึกษาจากหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจ ซึ่งอาจทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษาของประเทศด้วย
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่
21 พฤศจิกายน 2565 จึงมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน สรุปได้ดังนี้
1) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี
การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการศึกษาของโรงเรียนที่นำไปสู่การยกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1
ของบุตรสาวผู้ร้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน
90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้
2) ให้โรงเรียนเอกชนผู้ถูกร้องกำชับให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง พร้อมทั้งจัดทำคู่มืออธิบายนิยาม ลักษณะ และความแตกต่างของแต่ละหลักสูตรการศึกษา
อย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนต่อหลักสูตรการศึกษา
3) ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำกับดูแลการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกรณีปัญหาตามคำร้องนี้อย่างเคร่งครัด
4) ให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณียกเลิกระเบียนแสดงผลการเรียน ปพ.1 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก โดยควรคำนึงถึง
การรับฟังข้อเท็จจริงจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน ก่อนมีคำสั่งยกเลิกเอกสารดังกล่าว นอกจากนี้ให้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังไม่ให้เด็กที่เข้ารับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยหลุดจากระบบการศึกษาของประเทศ โดยควรจัดทำระบบเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้เรียนในแต่ละระบบการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อประกันและรับรองสิทธิทางการศึกษาอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และหลักสิทธิมนุษยชนสากล
ที่เกี่ยวข้องรับรองไว้
2. กสม. ชี้กรณีเจ้าหน้าที่ล่อซื้อประเวณีและละเลยให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวการจับกุม ตลอดจนการตรวจหาสารเสพติดในลักษณะเหมารวมโดยไม่มีเหตุอันควรสงสัย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2565 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียน กรณีกล่าวอ้างว่า เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2560 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรบางละมุง จังหวัดชลบุรีเข้าตรวจค้นสถานบริการแห่งหนึ่งภายในซอยวัดบุญกาญจนาราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีการลักลอบค้าประเวณี จึงส่งสายลับเข้าไปล่อซื้อบริการและจับกุมผู้กระทำความผิด จากนั้นได้ให้พนักงานของร้านและผู้ใช้บริการไปตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด ซึ่งผลการตรวจปัสสาวะไม่พบสารเสพติด ผู้ร้องเห็นว่า
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นไม่เหมาะสม โดยให้สื่อมวลชนบันทึกภาพของผู้ถูกจับกุม และ
มีผู้ถูกจับกุมบางรายเป็นเพศหญิงที่อยู่ในสภาพเปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อผ้า รวมทั้งการตรวจหา
สารเสพติดยังกระทำในลักษณะเหมารวมมิใช่การตรวจโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด
มีพฤติการณ์เสพยาเสพติด นั้น
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าวอาจมีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงมีมติเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ โดยเห็นว่า พฤติการณ์ตามคำร้องเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม อันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และกรณีตามคำร้องมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การตรวจค้นจับกุมผู้กระทำความผิด (2) การให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติหน้าที่และบันทึกภาพ และ (3) การตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด โดยผลการตรวจสอบสรุปได้ดังนี้
ประเด็นการตรวจค้นจับกุมผู้กระทำความผิดโดยวิธีการล่อซื้อประเวณี ต้องเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานจากผู้กระทำความผิดที่ไม่ได้มีการล่อลวงหรือบังคับให้ผู้นั้นกระทำความผิด แต่เกิดจากการที่ผู้นั้นมีการกระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว แม้กรณีนี้จะเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถใช้วิธีการอื่นแทนการล่อซื้อ เช่น การเข้าไปแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริงให้เพียงพอต่อการดำเนินคดี การใช้ภาพที่บันทึกจากกล้องวิดีโอเป็นพยานหลักฐาน เป็นต้น โดยเฉพาะในความผิดที่เกี่ยวกับเพศอันมีลักษณะที่อ่อนไหวและเสี่ยงที่การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะไปกระทบต่อศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์และสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องเกินสมควรแก่กรณีได้ ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกรณีนี้เข้าไปล่อซื้อประเวณีและเข้าจับกุมเมื่อผู้ต้องหาที่เปลือยกายนั้น แม้จะมีกฎหมายและแนวคำพิพากษาของศาลฎีกากำหนดให้สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่
ไม่เหมาะสม และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจับกุมเกินสมควรแก่กรณี อันถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สำหรับประเด็นการให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ แม้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ได้นำหรืออนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมในการตรวจค้น จับกุม จนนำไปสู่การเผยแพร่ภาพข่าว แต่การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจะต้องยึดถือตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน และหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในคดีอาญาที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ดังนั้น การนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวจึงกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและสิทธิในเกียรติยศและชื่อเสียงที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้เกินสมควรแก่กรณี จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน
ส่วนประเด็นการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันเกิดเหตุ จะเป็น
การดำเนินการของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในการดูแลรักษาความเรียบร้อยในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และ
เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 และพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และแม้การตรวจหาสารเสพติดจะไม่พบว่ามีผู้เสพยาเสพติดให้โทษตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่การตรวจหาสารเสพติดดังกล่าวมีการกระทำในลักษณะเป็นการเหมารวมกับกลุ่มบุคคลที่เป็นพนักงานและผู้ใช้บริการในสถานที่ดังกล่าว โดยปราศจากความยินยอมและไม่ปรากฏพยานหลักฐานอันมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลใดเสพยาเสพติด จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่
14 พฤศจิกายน 2565 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้
1) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย กำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี ด้วยวิธีการอื่นแทนการล่อซื้อ เพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนลักษณะเดียวกันกับคำร้องนี้
2) ให้กระทรวงมหาดไทยเน้นย้ำและกำชับให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น จับกุม
พึงหลีกเลี่ยงให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง บันทึกและเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ในขณะที่มีปฏิบัติการตรวจค้นหรือจับกุม ทั้งนี้ ตามมาตรการหรือแนวทางที่ กสม. เคยเสนอไว้ในรายงานผลการตรวจสอบก่อนหน้า
เมื่อเดือนมิถุนายน 2565
3) ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเน้นย้ำและกำชับเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ดำเนินการตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
อย่างเคร่งครัด กรณีมีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายว่าบุคคลนั้นเสพยาเสพติดให้โทษ ทั้งนี้ ตามมาตรการหรือแนวทางที่ กสม. เคยเสนอไว้ในรายงานผลการตรวจสอบก่อนหน้าเมื่อกันยายน 2565
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
24 พฤศจิกายน 2565
24-11-65-Press-release-แถลงข่าว-41-2565_.pdf
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นไม่เหมาะสม โดยให้สื่อมวลชนบันทึกภาพของผู้ถูกจับกุม และ
มีผู้ถูกจับกุมบางรายเป็นเพศหญิงที่อยู่ในสภาพเปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อผ้า รวมทั้งการตรวจหา
สารเสพติดยังกระทำในลักษณะเหมารวมมิใช่การตรวจโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด
มีพฤติการณ์เสพยาเสพติด นั้น
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าวอาจมีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงมีมติเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ โดยเห็นว่า พฤติการณ์ตามคำร้องเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม อันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และกรณีตามคำร้องมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การตรวจค้นจับกุมผู้กระทำความผิด (2) การให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติหน้าที่และบันทึกภาพ และ (3) การตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด โดยผลการตรวจสอบสรุปได้ดังนี้
ประเด็นการตรวจค้นจับกุมผู้กระทำความผิดโดยวิธีการล่อซื้อประเวณี ต้องเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานจากผู้กระทำความผิดที่ไม่ได้มีการล่อลวงหรือบังคับให้ผู้นั้นกระทำความผิด แต่เกิดจากการที่ผู้นั้นมีการกระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว แม้กรณีนี้จะเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถใช้วิธีการอื่นแทนการล่อซื้อ เช่น การเข้าไปแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริงให้เพียงพอต่อการดำเนินคดี การใช้ภาพที่บันทึกจากกล้องวิดีโอเป็นพยานหลักฐาน เป็นต้น โดยเฉพาะในความผิดที่เกี่ยวกับเพศอันมีลักษณะที่อ่อนไหวและเสี่ยงที่การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะไปกระทบต่อศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์และสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องเกินสมควรแก่กรณีได้ ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกรณีนี้เข้าไปล่อซื้อประเวณีและเข้าจับกุมเมื่อผู้ต้องหาที่เปลือยกายนั้น แม้จะมีกฎหมายและแนวคำพิพากษาของศาลฎีกากำหนดให้สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่
ไม่เหมาะสม และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจับกุมเกินสมควรแก่กรณี อันถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สำหรับประเด็นการให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ แม้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ได้นำหรืออนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมในการตรวจค้น จับกุม จนนำไปสู่การเผยแพร่ภาพข่าว แต่การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจะต้องยึดถือตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน และหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในคดีอาญาที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ดังนั้น การนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวจึงกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและสิทธิในเกียรติยศและชื่อเสียงที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้เกินสมควรแก่กรณี จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน
ส่วนประเด็นการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันเกิดเหตุ จะเป็น
การดำเนินการของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในการดูแลรักษาความเรียบร้อยในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และ
เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 และพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และแม้การตรวจหาสารเสพติดจะไม่พบว่ามีผู้เสพยาเสพติดให้โทษตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่การตรวจหาสารเสพติดดังกล่าวมีการกระทำในลักษณะเป็นการเหมารวมกับกลุ่มบุคคลที่เป็นพนักงานและผู้ใช้บริการในสถานที่ดังกล่าว โดยปราศจากความยินยอมและไม่ปรากฏพยานหลักฐานอันมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลใดเสพยาเสพติด จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่
14 พฤศจิกายน 2565 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้
1) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย กำหนดมาตรการหรือแนวทางในการแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี ด้วยวิธีการอื่นแทนการล่อซื้อ เพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนลักษณะเดียวกันกับคำร้องนี้
2) ให้กระทรวงมหาดไทยเน้นย้ำและกำชับให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น จับกุม
พึงหลีกเลี่ยงให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง บันทึกและเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ในขณะที่มีปฏิบัติการตรวจค้นหรือจับกุม ทั้งนี้ ตามมาตรการหรือแนวทางที่ กสม. เคยเสนอไว้ในรายงานผลการตรวจสอบก่อนหน้า
เมื่อเดือนมิถุนายน 2565
3) ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเน้นย้ำและกำชับเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ดำเนินการตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
อย่างเคร่งครัด กรณีมีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายว่าบุคคลนั้นเสพยาเสพติดให้โทษ ทั้งนี้ ตามมาตรการหรือแนวทางที่ กสม. เคยเสนอไว้ในรายงานผลการตรวจสอบก่อนหน้าเมื่อกันยายน 2565
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
24 พฤศจิกายน 2565
24-11-65-Press-release-แถลงข่าว-41-2565_.pdf