วันที่ 24 ธันวาคม 2564 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายพิทยา จินาวัฒน์ และนายบุญเกื้อ สมนึก ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สำคัญประจำปี 2564 กรณีการชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 ซึ่ง กสม. มีมติในคราวการประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 53/2564 (28) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ตามที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนอันเกี่ยวเนื่องกับกรณีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 หลายคำร้อง ประกอบกับพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 16 และ 18 กรกฎาคม 2564 รวมทั้งเมื่อวันที่ 1 และ 7 สิงหาคม 2564 อาจมีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงได้มีมติให้ตรวจสอบและตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ โดยได้รับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย ทั้งจากกลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (เจ้าหน้าที่ คฝ.) หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ผู้พักอาศัยบริเวณรอบพื้นที่การชุมนุม และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งจัดให้มีเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้ง และการคุ้มครองสิทธิเด็กในสถานการณ์การชุมนุม ร่วมกับตัวแทนผู้ชุมนุม หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน นักวิชาการด้านสันติวิธี และนักจิตวิทยาเด็ก นอกจากนี้ยังได้เฝ้าระวังสถานการณ์และลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนลงพื้นที่ไปติดตามการจับกุมผู้ถูกจับกุมเพื่อตรวจสอบและประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย
จากการตรวจสอบ พบว่า การชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 เป็นการรวมตัวของประชาชนที่ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักกิจกรรมทางการเมือง เพื่อแสดงความเห็นและมีข้อเรียกร้องปฏิรูปทางการเมืองควบคู่กับข้อเรียกร้องต่อมาตรการของรัฐบาลในการบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) โดยมีรูปแบบการชุมนุมที่สำคัญ 3 รูปแบบ คือ (1) การชุมนุมที่เป็นการประท้วง การเดินขบวนประท้วง และการชุมนุมแบบแฟลชม็อบ (2) การชุมนุมในรูปแบบกิจกรรม “คาร์ม็อบ (Car Mob) และ “ไบก์ม็อบ” (Bike Mob) และ (3) การชุมนุมที่ไม่มีกลุ่มหรือแกนนำขับเคลื่อนการชุมนุมอย่างชัดเจน โดยการตรวจสอบมีประเด็นที่ กสม. ได้พิจารณาและมีความเห็น ดังนี้
1. การใช้อำนาจรัฐในการควบคุมดูแลการชุมนุม พิจารณาว่ามีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ พบว่า การบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548) เพื่อจัดการและควบคุมการชุมนุมของรัฐบาล มีแนวโน้มเป็นการห้ามการชุมนุมแบบเหมารวมและห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาด และไม่ได้สัดส่วนระหว่างเสรีภาพในการชุมนุม กับความปลอดภัยสาธารณะ (การป้องกันภัยทางสาธารณสุข) นอกจากนี้ ยังมีการจับกุมผู้ที่มาชุมนุมและดำเนินคดีในความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 และกฎหมายอื่น ซึ่งถือเป็นการสร้างความหวาดกลัวต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุม จึงมีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุม
ส่วนการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมดูแลการชุมนุม พบว่า หลายกรณี เจ้าหน้าที่ คฝ. ได้ใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนด้วยวิธีการไม่เหมาะสม เช่น ใช้กระบองในลักษณะที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง ยิงกระสุนยางในแนวสูงระดับศีรษะ หรือ ยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปตกในที่พักอาศัยของประชาชน อันเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนตามแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 และไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (United Nations Human Rights Guidance on Less-Lethal Weapons in Law Enforcement) ขณะที่การใช้กำลังจับกุมผู้ชุมนุมนั้น หลายกรณีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจากการเข้าจับกุมของเจ้าหน้าที่ เช่น การใช้กระสุนยางยิงสกัดการหลบหนี การขับรถยนต์ตัดหน้าเฉี่ยวชนหรือถีบรถจักรยานยนต์จนล้มลง ซึ่ง กสม. เห็นว่า แม้ผู้ที่ถูกจับกุมจะมีการใช้ความรุนแรงในการแสดงออกร่วมอยู่ แต่ไม่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าหน้าที่จะต้องใช้วิธีการรุนแรงโดยไม่สนใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมาโดยเฉพาะการเข้าจับกุมเด็กและเยาวชน จึงเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ของผู้ถูกจับกุม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สำหรับการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พบว่า มีการใช้เครื่องพันธนาการในการจับกุมเด็กและเยาวชน ซึ่งขณะที่ถูกจับกุมในบางกรณีเยาวชนไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีหรือต่อสู้ขัดขวาง แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใส่สายรัดข้อมือ (Cable Tie) เป็นเครื่องพันธนาการ และยังปรากฏกรณีเยาวชนถูกควบคุมตัวร่วมกับผู้ต้องหาผู้ใหญ่โดยไม่มีการแยกให้อยู่ในสถานที่พิเศษเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ถูกจับกุมถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจซึ่งไม่ใช่ที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับหรือที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เช่น ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 จังหวัดปทุมธานี (ตชด. ภาค 1) ส่งผลให้ทนายความไม่สามารถเข้าพบผู้ต้องหาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายได้ในทันที ขณะที่การดำเนินคดีบางกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิของผู้ถูกจับกุม หรือไม่ยินยอมให้ติดต่อญาติ ซึ่งไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ในประเด็นการปล่อยชั่วคราว ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้ถูกจับและควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันและมีประกัน และมีกรณีที่ศาลไม่ให้ประกันตัวด้วยเหตุผลพฤติการณ์ในการกระทำความผิดครั้งหลังผิดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว หรืออาจมีการกระทำผิดซ้ำ กสม. เห็นว่า กรณีนี้แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของศาล แต่การพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราวควรยึดหลักที่ว่าทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวนั้นต้องเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อาญา. เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งรับรองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด และสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี
2. ความเห็นต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน แม้การชุมนุมทางการเมืองในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2564 จะอยู่ในช่วงเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่การชุมนุมในรูปแบบกิจกรรม “คาร์ม็อบ” (Car Mob) และไบก์ม็อบ (Bike Mob) ซึ่งเป็นการขับขี่ยานพาหนะไปตามเส้นทางต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งไม่ปรากฏการใช้ความรุนแรงของผู้ชุมนุมในลักษณะที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลอื่น ส่วนกรณีที่มีเหตุใช้ความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นภายหลังการชุมนุมยุติหรือเชื่อได้ว่าเกิดขึ้นจากมวลชนที่ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการชุมนุม เช่นเดียวกับการชุมนุมที่เป็นการประท้วง การเดินขบวนประท้วง และการชุมนุมแบบแฟลชม็อบ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองและไม่มีจุดประสงค์ในการใช้ความรุนแรง การชุมนุมทั้งสองรูปแบบนี้จึงถือเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี รูปแบบการชุมนุมที่ไม่มีกลุ่มหรือแกนนำขับเคลื่อนอย่างชัดเจนโดยที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้สิ่งเทียมอาวุธตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถือเป็นการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงและมิใช่การชุมนุมโดยสงบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการบังคับทางกฎหมายได้ แต่ต้องคำนึงถึงหลักความเหมาะสมและได้สัดส่วน โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน
3. ความเห็นต่อผลกระทบและการเยียวยาความเสียหายจากสถานการณ์การชุมนุม เห็นว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมืองเป็นการเฉพาะ แม้มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 และวันที่ 13 มิถุนายน 2560 จะกำหนดให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำกฎหมายหรือระเบียบ เงื่อนไขและวิธีการช่วยเหลือเยียวยาที่ครอบคลุมทุกกรณี แต่ปัจจุบันยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จและยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประเด็นนี้
4. ความเห็นต่อกรณีการคุ้มครองเด็กในสถานการณ์การชุมนุม พบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีการแยกแยะกลุ่มเด็กออกจากกลุ่มผู้ใหญ่ในการชุมนุม รวมทั้งไม่ปฏิบัติต่อเด็กด้วยวิธีการที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ทั้งในเรื่องการใช้กำลังในการควบคุมดูแลการชุมนุม และปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่ง กสม.ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อคุ้มครองสิทธิและความปลอดภัยของเด็กในสถานการณ์การชุมนุม (กรณีสามเหลี่ยมดินแดง) ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อเดือนกันยายน 2564 ซึ่งหน่วยงานเห็นชอบต่อข้อเสนอแนะของ กสม.
จากผลการตรวจสอบและความเห็นข้างต้น กสม. จึงมีข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สรุปได้ดังนี้
ในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องงดเว้นการใช้ลวดหีบเพลงแถบหนามเป็นเครื่องมือควบคุมฝูงชน ปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คฝ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายและหลักสากล รวมทั้งต้องจัดให้ผู้ถูกจับกุมทุกคนได้รับสิทธิที่พึงมีตามกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนหลีกเลี่ยงการกระทำ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิของผู้ถูกจับกุมในการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้คณะรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 เป็นไปเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคง ไม่อาจนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองทั่วไป และควรมอบหมายกระทรวงยุติธรรมเร่งรัดการจัดทำกฎหมายหรือระเบียบกลางในการช่วยเหลือเยียวยาที่ครอบคลุมทุกกรณีรวมทั้งกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองโดยเร็ว ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรกำหนดแนวทางปฏิบัติให้การควบคุมการชุมนุมกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ โดยการจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมต้องให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับและผู้ต้องหาอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการตั้งข้อหาที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้ศาลยุติธรรมพิจารณากำหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว ให้สอดคล้องกับหลักการที่รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองให้การรับรองและคุ้มครอง และควรพิจารณามาตรการอื่นแทนการคุมขังด้วย
พร้อมกันนี้ กสม. มีข้อเสนอแนะต่อการจัดการชุมนุม ซึ่งต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธและสิ่งเทียมอาวุธ โดยต้องคำนึงถึงสิทธิและความปลอดภัยของบุคคลอื่น รวมถึงความรับผิดชอบต่อผู้เข้าร่วมการชุมนุม ต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากอันตรายในการชุมนุม และการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และเหตุอื่น โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งควรมีช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้จัดการชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปตามหลักสากล
ดาวน์โหลด PDF
เกี่ยวกับเรา
ย้อนกลับ
คณะกรรมการ
ประวัติความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
เป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และนโยบาย
ย้อนกลับ
สำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
โครงสร้างหน่วยงาน
ผู้บริหาร
ค่านิยมองค์กร
การจัดการความรู้ในองค์กร (KM)
แผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
มาตรฐานทางจริยธรรม
ตราสัญลักษณ์และความหมาย
หน่วยตรวจสอบภายใน
ย้อนกลับ
การประกาศนโยบาย
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เงื่อนไขการใช้บริการ
นโยบายคุกกี้
ย้อนกลับ
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
สำนักงาน
การประกาศนโยบาย
ระบบงานภายในสำหรับเจ้าหน้าที่
คลังความรู้สิทธิมนุษยชน
ย้อนกลับ
สื่อประชาสัมพันธ์
สื่อสิ่งพิมพ์สำนักงาน กสม.
มุมมองสิทธิ์
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
สื่อวีดิทัศน์
สื่อวิทยุ
วารสาร
Infographic
Social Media
สื่ออื่น ๆ
ย้อนกลับ
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
หลักการเกี่ยวกับสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (หลักการปารีส)
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐานและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ย้อนกลับ
คลังความรู้สิทธิมนุษยชน
สื่อประชาสัมพันธ์
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
สิทธิมนุษยชนศึกษา
คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานต่าง ๆ
ผลการศึกษา ผลงานวิจัย
ผลการดำเนินงาน
ย้อนกลับ
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บทสรุปผู้บริหาร รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ย้อนกลับ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหารรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
แผนการจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภูมิภาค
ย้อนกลับ
ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
สถิติเรื่องร้องเรียน
ย้อนกลับ
รายงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ/ผลการประชุมอื่นๆ
ย้อนกลับ
ผลการดำเนินงาน
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการติดตามผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความคิดเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
รายงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
บริการประชาชน
ย้อนกลับ
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
แนะนำการร้องเรียน
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนออนไลน์
ติดตามเรื่องร้องเรียน
ผังกระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ย้อนกลับ
แจ้งข้อมูลอื่นๆ
รับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะและติชมการให้บริการ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม.
ย้อนกลับ
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
เว็บไซต์เพื่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
การป้องกันการทุจริต
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ย้อนกลับ
บริการประชาชน
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
แจ้งข้อมูลอื่นๆ
บริการจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
แบบฟอร์มออนไลน์
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ
กฎหมาย
ย้อนกลับ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ และคำสั่งของ กสม.
ระเบียบ กสม.
ประกาศ กสม.
แนวปฏิบัติ กสม.
คำสั่ง กสม.
ย้อนกลับ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติและข้อบังคับของสำนักงาน กสม.
ระเบียบ สำนักงาน กสม.
ประกาศ สำนักงาน กสม.
แนวปฏิบัติ สำนักงาน กสม.
ข้อบังคับ สำนักงาน กสม.
ย้อนกลับ
กฎหมาย
ร่างกฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติอื่น
ประมวลกฎหมาย
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ และคำสั่งของ กสม.
ประกาศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติและข้อบังคับของสำนักงาน กสม.
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หนังสือรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ย้อนกลับ
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน/รายไตรมาส
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปี
พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และระเบียบ
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (GProcurement)
คู่มือ/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ย้อนกลับ
ข่าว
ข่าว กสม. และเหตุการณ์สำคัญ
ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวสมัครงาน
ข่าวสำนักงาน กสม. พื้นที่ภาค
ติดต่อเรา
ย้อนกลับ
สำนักงาน กสม. (ภูมิภาค)
สำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคใต้
สำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ย้อนกลับ
ติดต่อเรา
สำนักงาน กสม.
สำนักงาน กสม. (ภูมิภาค)
เว็บบอร์ด
สำนักงานพื้นที่ภาค
ย้อนกลับ
สำนักงานพื้นที่ภาค
เว็บไซต์ส่วนภูมิภาคภาคใต้
เว็บไซต์ส่วนภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ