นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหนังสือ ลงวันที่ 10 กันยายน 2564 แจ้งข้อเสนอแนะในการแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก รวมถึงการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ และความปลอดภัยของเด็กในสถานการณ์การชุมนุม (กรณีสามเหลี่ยมดินแดง) ไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นเรื่อง “สิทธิเด็กกับสถานการณ์การชุมนุม” เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้แทนเด็กและเยาวชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน นักวิชาการและนักจิตวิทยาเข้าร่วม ทั้งนี้ กสม. ได้ประมวลความคิดเห็นและข้อห่วงใยเรื่องความรุนแรงในสถานการณ์การชุมนุม ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน โดยพิจารณาตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม จึงมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1. ควรจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นจากเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมการชุมนุม โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันและเปิดพื้นที่ในการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยปราศจากความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
2. หน่วยงานของรัฐควรมีแนวปฏิบัติและวิธีการที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่การชุมนุม โดยจัดให้มีระบบดูแลเด็กและเยาวชน ตั้งแต่เริ่มชุมนุม ระหว่างชุมนุม หลังการชุมนุม และจัดให้มีการคัดกรองพื้นที่การชุมนุมให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยติดสัญลักษณ์ให้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เพื่อให้เจ้าหน้าที่สังเกตเห็นและมีการปฏิบัติที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากมีการจับกุมเด็กต้องมีสหวิชาชีพเข้าร่วมด้วย
3. เจ้าหน้าที่รัฐควรจัดหามาตรการเชิงป้องกันที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้อย่างปลอดภัย และควรแยกกลุ่มผู้ชุมนุมให้ชัดเจนระหว่างผู้ก่อความรุนแรง และไม่ก่อความรุนแรง
4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรจัดอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลโดยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนที่คำนึงถึงมิติของเด็กและเยาวชน
5. รัฐบาลควรประสานงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดูแล คุ้มครอง ปกป้องการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมทั้งต้องมีมาตรการไม่ให้เกิดการตีตรา กลั่นแกล้ง และสร้างความเกลียดชังในโลกออนไลน์กับผู้ที่มีความคิดเห็นต่าง
นอกจากข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ในเวทีระดมความคิดเห็นยังมีข้อห่วงกังวลกรณีผู้ปกครองพาเด็กเล็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปในพื้นที่การชุมนุมที่มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง เพราะนอกจากอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายแล้ว อาจได้รับผลกระทบจากการถูกปลุกเร้าให้ใช้ความรุนแรง ซึ่งกระทบถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) ของเด็กด้วย
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ กสม.โดยคณะทำงานเพื่อตรวจสอบ กรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ยังได้จัดประชุมรับฟังความเห็นจากนักวิชาการและนักกิจกรรมด้านสันติวิธีในหัวข้อ “ทางออกจากความขัดแย้งในการชุมนุมโดยไม่ใช้ความรุนแรง” ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ความรุนแรงในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองส่งผลกระทบต่อสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐและฝ่ายผู้ชุมนุม รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่อยู่รอบพื้นที่ ดังนั้น จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องมีความห่วงใยและแสวงหาทางออกร่วมกัน
“สิ่งที่สังคมคาดหวังและควรร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริงคือ ‘พื้นที่ทางสังคมการเมืองที่ปลอดภัย’ ซึ่งอาจดำเนินการได้ด้วยการเปิดพื้นที่เจรจากรณีการชุมนุมที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐและกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่ายอย่างสันติ สร้างสรรค์ และเปิดใจรับฟังกันและกัน ทั้งนี้ กสม.ขอยืนยันการทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้คนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมต่อไป” ประธาน กสม. กล่าว
เกี่ยวกับเรา
ย้อนกลับ
คณะกรรมการ
ประวัติความเป็นมา
หน้าที่และอำนาจ
ประวัติคณะกรรมการ
เป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และนโยบาย
ย้อนกลับ
สำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
โครงสร้างหน่วยงาน
ผู้บริหาร
ค่านิยมองค์กร
การจัดการความรู้ในองค์กร (KM)
แผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
มาตรฐานทางจริยธรรม
ตราสัญลักษณ์และความหมาย
หน่วยตรวจสอบภายใน
ย้อนกลับ
การประกาศนโยบาย
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เงื่อนไขการใช้บริการ
นโยบายคุกกี้
ย้อนกลับ
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
สำนักงาน
การประกาศนโยบาย
ระบบงานภายในสำหรับเจ้าหน้าที่
คลังความรู้สิทธิมนุษยชน
ย้อนกลับ
สื่อประชาสัมพันธ์
สื่อสิ่งพิมพ์สำนักงาน กสม.
มุมมองสิทธิ์
เพลงเพื่อสิทธิมนุษยชน
สื่อวีดิทัศน์
สื่อวิทยุ
วารสาร
Infographic
Social Media
สื่ออื่น ๆ
ย้อนกลับ
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
หลักการเกี่ยวกับสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (หลักการปารีส)
พันธกรณีระหว่างประเทศ
แนวปฏิบัติ มาตรฐานและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
การประเมินสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ย้อนกลับ
คลังความรู้สิทธิมนุษยชน
สื่อประชาสัมพันธ์
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
สิทธิมนุษยชนศึกษา
คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานต่าง ๆ
ผลการศึกษา ผลงานวิจัย
ผลการดำเนินงาน
ย้อนกลับ
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บทสรุปผู้บริหาร รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ย้อนกลับ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
บทสรุปผู้บริหารรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
แผนการจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภูมิภาค
ย้อนกลับ
ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
สถิติเรื่องร้องเรียน
ย้อนกลับ
รายงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ/ผลการประชุมอื่นๆ
ย้อนกลับ
ผลการดำเนินงาน
รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการติดตามผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน
รางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น
ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
สรุปผลการประชุม/สัมมนา/เวทีทางวิชาการ/ระดมความคิดเห็น/การฝึกอบรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
รายงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
บริการประชาชน
ย้อนกลับ
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
แนะนำการร้องเรียน
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนออนไลน์
ติดตามเรื่องร้องเรียน
ผังกระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ย้อนกลับ
แจ้งข้อมูลอื่นๆ
รับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะและติชมการให้บริการ
แจ้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม.
ย้อนกลับ
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
เว็บไซต์เพื่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
การป้องกันการทุจริต
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ย้อนกลับ
บริการประชาชน
แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
แจ้งข้อมูลอื่นๆ
บริการจดแจ้งองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA)
แบบฟอร์มออนไลน์
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ
กฎหมาย
ย้อนกลับ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ และคำสั่งของ กสม.
ระเบียบ กสม.
ประกาศ กสม.
แนวปฏิบัติ กสม.
คำสั่ง กสม.
ย้อนกลับ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติและข้อบังคับของสำนักงาน กสม.
ระเบียบ สำนักงาน กสม.
ประกาศ สำนักงาน กสม.
แนวปฏิบัติ สำนักงาน กสม.
ข้อบังคับ สำนักงาน กสม.
ย้อนกลับ
กฎหมาย
ร่างกฎหมายที่เปิดรับฟังความคิดเห็น
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติอื่น
ประมวลกฎหมาย
ประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มาตรฐานและข้อกำหนดทางจริยธรรม
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ และคำสั่งของ กสม.
ประกาศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติและข้อบังคับของสำนักงาน กสม.
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หนังสือรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข่าว
ย้อนกลับ
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน/รายไตรมาส
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปี
พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และระเบียบ
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (GProcurement)
คู่มือ/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ย้อนกลับ
ข่าว
ข่าว กสม. และเหตุการณ์สำคัญ
ข่าวสำนักงาน กสม.
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวสมัครงาน
ข่าวสำนักงาน กสม. พื้นที่ภาค
ติดต่อเรา
ย้อนกลับ
สำนักงาน กสม. (ภูมิภาค)
สำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคใต้
สำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ย้อนกลับ
ติดต่อเรา
สำนักงาน กสม.
สำนักงาน กสม. (ภูมิภาค)
เว็บบอร์ด
สำนักงานพื้นที่ภาค
ย้อนกลับ
สำนักงานพื้นที่ภาค
เว็บไซต์ส่วนภูมิภาคภาคใต้
เว็บไซต์ส่วนภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ