ข้อเท็จจริงกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

04/02/2559 3631
  ตามที่ได้มีรายงานเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากสถานะ “เอ” เป็น “บี” โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นั้น

               เนื่องจากอาจมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากการเสนอข่าวดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

               ๑. การจัดสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศต่างๆ เป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ (International Coordinating Committee of National Human Rights Institutions) หรือที่มีชื่อย่อว่า ICC ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั่วโลกที่ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๖ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติตามแนวทางที่ได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติดังปรากฏในหลักการปารีสว่า ด้วยสถานะของสถาบันแห่งชาติเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Paris Principles Relating to the Status of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights) เพื่อให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศต่างๆ สามารถทำหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

               ๒. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ICC เมื่อปี ๒๕๔๗ พร้อมกับได้รับสถานะ “เอ” เนื่องจากได้รับการพิจารณาว่ามีคุณสมบัติและการดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลัก การปารีส หลังจากนั้น กสม. ได้รับการทบทวนสถานะอีก ๒ ครั้ง ซึ่งเป็นไปตามธรรมนูญของ ICC ที่กำหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นสมาชิกต้องเข้ารับการทบทวนการ จัดสถานะทุกๆ ๕ ปี (re-accreditation) ในการทบทวนการจัดสถานะครั้งที่ ๑ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ กสม. ได้รับสถานะ “เอ” และ กสม. ได้เข้าสู่กระบวนการทบทวนการจัดสถานะครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในช่วงของ กสม. ชุดที่ ๒ โดยในการพิจารณาจัดสถานะของ กสม. ครั้งที่ ๒ นี้ ICC โดยคณะอนุกรรมการประเมินสถานะ (Sub-Committee on Accreditation) หรือ SCA ได้ใช้เวลาในการพิจารณาคาชี้แจงและเอกสารประกอบต่างๆ ที่ กสม. จัดส่งไปให้เป็นเวลาประมาณ ๑ ปี และเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ คณะอนุกรรมการ SCA ได้มีข้อเสนอแนะต่อ ICC ให้ลดระดับ กสม. ให้อยู่ในสถานะ “บี” ภายในระยะเวลา ๑ ปีนับจากที่ SCA มีข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยในช่วงระยะเวลา ๑ ปีนั้น กสม. ยังคงสถานะ “เอ”เช่นเดิมและสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแสดงว่า กสม. มีการทำงานที่สอดคล้องกับหลักการปารีส

               ๓. เหตุผลที่คณะอนุกรรมการ SCA มีข้อเสนอแนะให้ลดระดับสถานะของ กสม. เนื่องมาจากความกังวลใน ๓ ประเด็น ประเด็นแรกเป็นเรื่องกระบวนการการสรรหาและการแต่งตั้ง กสม. ซึ่ง SCA เห็นว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องขาดหลักประกันการมีส่วน ร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการสรรหาและการได้มาซึ่งกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่มีความหลากหลาย (pluralism) โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสำคัญ (merit-based selection) ประเด็นที่สองได้แก่ การไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างทันท่วง ทีในกรณีการจัดทำรายงานการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี ๒๕๕๓ และในช่วงระหว่างปลายปี ๒๕๕๖ ถึงกลางปี ๒๕๕๗ ที่ล่าช้า และประเด็นสุดท้าย ได้แก่มีการขาดบทบัญญัติที่ชัดเจนในกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มกันจากการถูก ดำเนินคดีทางกฎหมายในกรณีการทำหน้าที่โดยสุจริตและเป็นการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ (Functional immunity and independence) ซึ่งถือเป็นหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม.

               ๔. ในช่วงระยะเวลา ๑ ปีภายหลังเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งคณะอนุกรรมการ SCA ได้เปิดโอกาสให้ กสม. ชี้แจงความคืบหน้าและข้อมูลเพิ่มเติม กสม. ได้พยายามดำเนินการในประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลของ SCA ข้างต้นมาโดยตลอด โดยได้เร่งรัดการจัดทำรายงานการชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๕๗ จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ส่วนการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งและ การให้ความคุ้มกันแก่ กสม. ในการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตนั้น กสม. ได้มีการชี้แจงและให้ข้อเสนอแนะในประเด็นดังกล่าวไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องใน กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ อย่างต่อเนื่องในหลายโอกาส อย่างไรก็ดี การดำเนินการของ กสม. ในเรื่องนี้ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมเนื่องจาก ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (ชุดแรก) ไม่ผ่านการรับรองของสภาปฏิรูปแห่งชาติ

               ๕.  เมื่อครบกาหนดเวลา ๑ ปีที่คณะอนุกรรมการ SCA ให้เวลา กสม. ในการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม กสม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นอกจากจะได้เข้าพบกับประธานกรรมการและกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อชี้แจงความ จำเป็นในการปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทย ตามข้อห่วงกังวลของ SCA แล้ว ยังได้เสนอหาแนวทางที่จะให้มีการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นดังกล่าว ที่จะมีผลในทันทีในระหว่างที่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ด้วย โดยได้เสนอให้มี การปรับเพิ่มผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสถาบันการศึกษาที่มี การเรียนการสอนด้าน สิทธิมนุษยชนในองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ และเพิ่มบทบัญญัติเรื่องความคุ้มกันการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ในทำนองเดียวกับที่ปรากฏในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการ แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ และ กสม. ได้ชี้แจงการดำเนินการของ กสม. ในเรื่องนี้ไปยังประธาน ICC เพื่อพิจารณาเพิ่มเติม แต่การชี้แจงดังกล่าวก็ไม่มีผลต่อลดสถานะของ กสม. โดย ICC ตามข้อเสนอแนะของ SCA

               อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ICC ได้ตัดสินใจลดสถานะของ กสม. แล้ว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกต่อสาธารณชนเมื่อ วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ โดยบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ กสม.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิ มนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหา กสม. ด้วยดังปรากฏในร่างมาตรา ๒๔๒ วรรคสาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ กสม. ได้เสนอไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้และนับเป็นความก้าวหน้าที่ สำคัญ

               ๖. แม้ กสม. จะถูกลดสถานะโดย ICC จาก “เอ” เป็น “บี” แต่ กสม. จะยังคงดำเนินการเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกฎหมายเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของ กสม. ที่จะประกาศใช้ในอนาคตมีความสอดคล้องกับหลักการปารีสในประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลของ SCA และแม้ว่าการถูกปรับลดสถานะอาจส่งผลกระทบต่อสถานะและบทบาทของ กสม. ในเวทีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่ กสม. จะยังคงปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ต่อ ไป ทั้งการดำเนินงานในประเทศเพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเข้าใจและตระหนักถึง ความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ได้รับการเยียวยา อย่างเป็นธรรม และการดำเนิน ความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศต่างๆ ในกรอบ ICC ซึ่งเป็นเครือข่ายสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระดับสากล กรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Forum of National Human Rights Institutions - APF) และระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia National Human Rights Institutions Forum – SEANF) รวมถึงการร่วมมือกับกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ อาทิ การเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ UPR และต่อคณะกรรมการประจาสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
 
ดูเพิ่มเติม ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีการลดสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (คลิกที่นี่)
เลื่อนขึ้นด้านบน