กสม. ศยามลร่วมรายการเสวนาฟังเสียงประเทศไทย : ภัยคุกคามปลาหมอคางดำ

19/12/2566 29

                เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 น. ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นางสาวศยามล  ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมให้ความคิดเห็นในรายการฟังเสียงประเทศไทย ในประเด็น “ภัยคุกคามปลาหมอคางดำ” โดยให้ความเห็นว่า การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจในการประกอบอาชีพของเกษตรกร และสิทธิในสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน การบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพจึงต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาภัยคุกคามปลาหมอคางดำ ต้องมององค์รวมทั้งระบบทุกภาคส่วน โดยภาคเอกชนที่นำเข้าปลาหมอคางดำต้องปฏิบัติตามแนวทางธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ทำรายงานตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริหารองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล ส่วนเกษตรกรและประชาชนทั่วไปต้องเข้าถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปลาหมอคางดำและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งหน่วยงานรัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องทำงานร่วมกันโดยมีแผนงาน (Roadmap) อย่างชัดเจน ทั้งระยะเร่งด่วน (1 ปี) และระยะกลาง (3 – 5 ปี) และรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงใจ ทั้งเกษตรกร ชาวประมงพื้นบ้าน และภาควิชาการ พร้อมทั้งนำความเห็นนั้นมาปฏิบัติ
 
                ปลาหมอคางดำ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปลาหมอสีคางดำ เป็นสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กรมประมงได้อนุญาตให้เอกชนนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2553 อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย เป็นปลากินเนื้อ แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยออกลูกได้ครั้งละ 500 ตัว ปัจจุบันแพร่กระจายไปยังลำคลองสาขาต่าง ๆ ทั้งคลองน้ำจืดและคลองเชื่อมกับทะเล จึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกัดกินสัตว์น้ำวั

เลื่อนขึ้นด้านบน