ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำนักงานกสม. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมเวทีมหกรรมประชาชนปกป้องลุ่มน้ำโขงอีสาน

03/12/2566 832
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2566 ดร.มณีรัตน์ มิตรปราสาท ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานมหกรรมประชาชนปกป้องลุ่มน้ำอีสาน จัดโดยสมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมร่วมกับภาคีเครือข่าย ณ ห้องทองใบ ทองเปาด์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยงานดังกล่าวมีการปาฐกถาประเด็น “สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ สังคมไทยในระยะการปรับเปลี่ยน" โดย นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และมีการนำเสนอประเด็น " ภัยพิบิตที่เกิดจากการจัดการน้ำ เมืองอุบลราชธานี" โดย นายจำนงค์ จิตนิรัตน์ นักพัฒนาอาวุโส จากนั้นมีการเสวนาในประเด็น “บทบาทของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ“ โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่
1. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ
2. ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตราภรณ์ สมยานนทนากุล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. ผู้ใหญ่ชุมพร เรืองศิริ ประธานกลุ่มการจัดการน้ำบ้านแสงตะวันเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งดำเนินรายการโดย ดร.มณีรัตน์ มิตรปราสาท ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อีกทั้ง ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมงานกับผู้เสวนาในประเด็นดังกล่าวด้วย ต่อมาในช่วงบ่ายมีกิจกรรมอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ณ สะพานข้ามลำน้ำพอง (ถนนมิตรภาพ) อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
ทั้งนี้ผู้เสวนาได้มีข้อเสนอแนะใน แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการเมืองภาคประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย สร้างชุมชนให้เข็มแข็ง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของรัฐ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัย นวัตกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ สำนักการวิจัยแห่งชาติและการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาการบริหารจัดการ น้ำระดับชุมชนอย่างยั่งยื่น: การพัฒนาแนวทางการประเมินผลการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ทั้งนี้สำนักงาน กสม.พื้นที่ภาคอีสาน จะได้นำผลลัพธ์จากเวทีดังกล่าว ไปรวบรวมเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี รวมถึงใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการทั้งด้านส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
เลื่อนขึ้นด้านบน