วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายภาณุวัฒน์ ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2566 โดยมีวาระสำคัญดังนี้
1. กสม. ชี้กรณีที่ดินตาบอดของครอบครัวผู้สูงอายุย่านบางเขน ที่เข้าไม่ถึงน้ำประปา เป็นการละเมิดสิทธิการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แนะ กทม. เร่งแก้ไข
1. กสม. ชี้กรณีที่ดินตาบอดของครอบครัวผู้สูงอายุย่านบางเขน ที่เข้าไม่ถึงน้ำประปา เป็นการละเมิดสิทธิการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แนะ กทม. เร่งแก้ไข

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสร้างบ้านพักอาศัยอยู่ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อประมาณปี 2531 เป็นต้นมา ได้มีบริษัทเอกชนเข้ามาก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรจำนวน 3 แห่ง ติดกับที่ดินของผู้ร้อง โดยปิดล้อมแนวเขตที่ดินทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งสร้างกำแพงกั้นแนวเขต ทำให้ที่ดินของผู้ร้องเป็นที่ดินตาบอด ไม่มีทางเข้าออก ต้องปีนกำแพงของหมู่บ้านจัดสรรที่อยู่ข้างเคียงเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และยังไม่มีสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้า และน้ำประปา เนื่องจากหน่วยงานในพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าและวางท่อประปาผ่านหมู่บ้านจัดสรรเพื่อเข้าไปยังบ้านของผู้ร้องได้ อีกทั้งผู้ร้องและครอบครัว เป็นผู้สูงอายุทำให้ได้รับความลำบากในการดำเนินชีวิตอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ กสม. ได้ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามการร้องเรียนได้ จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินและสิทธิในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อันเป็นสิทธิที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่กำหนดหน้าที่ของรัฐในการจัดหรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว อันรวมถึงการมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และความพร้อมของบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จากการตรวจสอบ ปรากฏข้อเท็จจริงสรุปประเด็นได้ดังนี้
(1) กรณีที่ดินของผู้ร้องไม่มีทางเข้าออกสู่สาธารณะ เป็นเรื่องระหว่างเอกชนด้วยกัน และมีกฎหมายกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาไว้แล้ว โดยผู้ร้องเคยฟ้องต่อศาลเพื่อขอเปิดทางจำเป็นแล้ว และล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมีนบุรีเพื่อขอเปิดทางจำเป็นอีกครั้ง โดยศาลมีกำหนด นัดพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ร้องยังต้องใช้บันไดพาดกำแพงของหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ โดยที่ผู้ร้องและครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการใช้สิทธิอื่น หรือการใช้บริการของรัฐ อันอาจเกิดจากอุปสรรคในการเข้าออกที่ดิน จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาไปยังสำนักงานเขตบางเขนในฐานะผู้ถูกร้อง
(2) ปัญหาการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไฟฟ้าและประปา ปรากฏว่า การไฟฟ้านครหลวงเขตบางเขน ได้เข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้อง โดยพาดผ่านหมู่บ้านจัดสรร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 แล้ว ปัจจุบันผู้ร้องจึงสามารถเข้าถึงและใช้ไฟฟ้าได้ ส่วนการเข้าถึงน้ำประปานั้น พบว่า การประปานครหลวงเขตบางเขน ไม่สามารถติดตั้งระบบน้ำประปาให้แก่ผู้ร้องได้ เนื่องจากต้องดำเนินการผ่านพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร และต้องได้รับความยินยอมจากเอกชนเป็นรายกรณี อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่บัญญัติให้ กทม. มีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งกรณีนี้ สำนักงานเขตบางเขนเป็นหน่วยงานในสังกัดของ กทม. จึงต้องมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการดังกล่าวด้วย แม้ว่าผู้ถูกร้องจะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แก้ไขปัญหาแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจเข้าถึงระบบประปาเพื่ออุปโภคบริโภคอย่างเพียงพออันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพได้ กรณีนี้จึงเป็นการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังสำนักงานเขตบางเขน กทม.โดยให้ประสานกับการประปานครหลวงเขตบางเขนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ร้องเข้าถึงระบบประปา หรือน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ และให้จัดหามาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ร้องเข้าถึงสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเข้าถึงสิทธิอื่น หรือบริการของรัฐ อันอาจเกิดจากข้อจำกัดในการเข้าออกที่ดินของผู้ร้อง ทั้งนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบนี้
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะให้ กระทรวงมหาดไทยโดยกรมที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพื่อแก้ไขปัญหากรณีมีที่ดินซึ่งถูกที่ดินจัดสรรที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และพระราชบัญญัตินี้ปิดล้อมอยู่ จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิในสาธารณูปโภคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 หรือกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบได้มีส่วนร่วมในกระบวนการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และให้ผู้จัดสรรที่ดินคำนึงถึงมิติการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGPs) โดยหลีกเลี่ยงการกระทำหรือการมีส่วนที่จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
2. กสม. เผยผลการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงระบบในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในรอบปี 2565
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินและสิทธิในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อันเป็นสิทธิที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่กำหนดหน้าที่ของรัฐในการจัดหรือดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว อันรวมถึงการมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และความพร้อมของบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จากการตรวจสอบ ปรากฏข้อเท็จจริงสรุปประเด็นได้ดังนี้
(1) กรณีที่ดินของผู้ร้องไม่มีทางเข้าออกสู่สาธารณะ เป็นเรื่องระหว่างเอกชนด้วยกัน และมีกฎหมายกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาไว้แล้ว โดยผู้ร้องเคยฟ้องต่อศาลเพื่อขอเปิดทางจำเป็นแล้ว และล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมีนบุรีเพื่อขอเปิดทางจำเป็นอีกครั้ง โดยศาลมีกำหนด นัดพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ร้องยังต้องใช้บันไดพาดกำแพงของหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ โดยที่ผู้ร้องและครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการใช้สิทธิอื่น หรือการใช้บริการของรัฐ อันอาจเกิดจากอุปสรรคในการเข้าออกที่ดิน จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาไปยังสำนักงานเขตบางเขนในฐานะผู้ถูกร้อง
(2) ปัญหาการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไฟฟ้าและประปา ปรากฏว่า การไฟฟ้านครหลวงเขตบางเขน ได้เข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้อง โดยพาดผ่านหมู่บ้านจัดสรร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 แล้ว ปัจจุบันผู้ร้องจึงสามารถเข้าถึงและใช้ไฟฟ้าได้ ส่วนการเข้าถึงน้ำประปานั้น พบว่า การประปานครหลวงเขตบางเขน ไม่สามารถติดตั้งระบบน้ำประปาให้แก่ผู้ร้องได้ เนื่องจากต้องดำเนินการผ่านพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร และต้องได้รับความยินยอมจากเอกชนเป็นรายกรณี อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่บัญญัติให้ กทม. มีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งกรณีนี้ สำนักงานเขตบางเขนเป็นหน่วยงานในสังกัดของ กทม. จึงต้องมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการดังกล่าวด้วย แม้ว่าผู้ถูกร้องจะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แก้ไขปัญหาแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจเข้าถึงระบบประปาเพื่ออุปโภคบริโภคอย่างเพียงพออันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพได้ กรณีนี้จึงเป็นการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังสำนักงานเขตบางเขน กทม.โดยให้ประสานกับการประปานครหลวงเขตบางเขนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ร้องเข้าถึงระบบประปา หรือน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ และให้จัดหามาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ร้องเข้าถึงสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเข้าถึงสิทธิอื่น หรือบริการของรัฐ อันอาจเกิดจากข้อจำกัดในการเข้าออกที่ดินของผู้ร้อง ทั้งนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบนี้
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะให้ กระทรวงมหาดไทยโดยกรมที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพื่อแก้ไขปัญหากรณีมีที่ดินซึ่งถูกที่ดินจัดสรรที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และพระราชบัญญัตินี้ปิดล้อมอยู่ จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิในสาธารณูปโภคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 หรือกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบได้มีส่วนร่วมในกระบวนการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และให้ผู้จัดสรรที่ดินคำนึงถึงมิติการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGPs) โดยหลีกเลี่ยงการกระทำหรือการมีส่วนที่จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
2. กสม. เผยผลการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงระบบในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในรอบปี 2565

นายภาณุวัฒน์ ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. เปิดเผยว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดทำข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเชิงระบบเพื่อเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (2) ข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเรื่องสิทธิ ในกระบวนการยุติธรรมกรณีการดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว (4) ข้อเสนอแนะกรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ (5) ข้อเสนอแนะกรณี สิทธิในกระบวนการยุติธรรมในชั้นสอบสวนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (6) ข้อเสนอแนะกรณีสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กต่อสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย (7) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกรณี ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และ (8) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกรณี ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน
ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงระบบในปีที่ผ่านมาข้างต้น สำนักงาน กสม. ได้ส่งรายงานข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง การดำเนินการหรือการสั่งการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานภายใต้สังกัดตามข้อเสนอแนะของ กสม. สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับแจ้งว่ามีการแก้ไขปัญหาแล้วอย่างเป็นรูปธรรม คือ ข้อเสนอแนะกรณี การจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกรณีที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนมากถึง 36 คำร้อง ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 จากผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และได้รับความไม่สะดวกจากการเข้าใช้บริการห้องน้ำในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา หน่วยงานราชการ เช่น สถานีตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ซึ่งไม่มีห้องน้ำที่เหมาะสมสำหรับบุคคลกลุ่มดังกล่าว โดย กสม. มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่ถูกร้องพิจารณาปรับปรุงห้องน้ำที่มีอยู่หรือปรับเปลี่ยนห้องน้ำบางส่วนให้เป็นห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศ (All Gender Restroom) และกำหนดแนวทางในการใช้ห้องน้ำในสถานที่ราชการโดยส่งเสริมให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถใช้ห้องน้ำได้ตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศตามเจตจำนงของตนได้ ซึ่งกรณีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งได้จัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และหรือห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศ (All Gender Restroom) แล้ว ขณะที่บางแห่งตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวและอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงห้องน้ำตามนโยบายและการสั่งการของหน่วยงานที่กำกับดูแลต่อไป ส่วนหน่วยงานเอกชนบางแห่ง เช่น ห้างสรรพสินค้า แม้จะแจ้งว่าไม่อาจจัดหาสถานที่ที่เพียงพอสำหรับการสร้างห้องน้ำสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้ แต่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและยืนยันในหลักการให้ความเคารพในสิทธิความหลากหลายทางเพศ โดยระบุว่าบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศสามารถเลือกใช้บริการห้องน้ำได้ตามเจตจำนงของตนเองอย่างอิสระ
นายภาณุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2565 กสม. ยังได้มีความเห็นต่อร่างกฎหมาย จำนวน 39 เรื่อง เช่น ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน และร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนร่วม พ.ศ. ....
นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา กสม. โดยประธาน กสม. ยังได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี จำนวน 12 ฉบับ เพื่อเสนอความเห็นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นรายกรณีให้แก่ประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาใช้เสรีภาพในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง มาตรการคุ้มครองสิทธิคนพิการกรณีกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน ขอให้สั่งการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล และขอความอนุเคราะห์ชะลอการพิจารณาโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองปกาไสย จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
“การให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการเสนอความเห็นต่อรัฐบาล รัฐสภา และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอื่นนั้น เป็นหน้าที่และอำนาจของ กสม. ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติตามหลักการปารีส (Paris Principles) เพื่อผลักดันให้รัฐบาลให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กฎหมายบัญญัติให้ กสม. จัดทำรายงานแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรี และในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้หรือต้องใช้เวลา ในการดำเนินการให้แจ้งเหตุผลให้ กสม. ทราบโดยไม่ชักช้า ในท้ายที่สุด หากเห็นสมควร กสม. อาจเผยแพร่รายงานผลการดำเนินการของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ประชาชนทราบเป็น การทั่วไปได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตามข้อเสนอแนะหรือความเห็นของ กสม.” นายภาณุวัฒน์ กล่าว
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
12 มกราคม 2566
12-01-66-แถลงข่าวเด่น-2-2566_.pdf
ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงระบบในปีที่ผ่านมาข้างต้น สำนักงาน กสม. ได้ส่งรายงานข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง การดำเนินการหรือการสั่งการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานภายใต้สังกัดตามข้อเสนอแนะของ กสม. สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับแจ้งว่ามีการแก้ไขปัญหาแล้วอย่างเป็นรูปธรรม คือ ข้อเสนอแนะกรณี การจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกรณีที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนมากถึง 36 คำร้อง ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 จากผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และได้รับความไม่สะดวกจากการเข้าใช้บริการห้องน้ำในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา หน่วยงานราชการ เช่น สถานีตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ซึ่งไม่มีห้องน้ำที่เหมาะสมสำหรับบุคคลกลุ่มดังกล่าว โดย กสม. มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่ถูกร้องพิจารณาปรับปรุงห้องน้ำที่มีอยู่หรือปรับเปลี่ยนห้องน้ำบางส่วนให้เป็นห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศ (All Gender Restroom) และกำหนดแนวทางในการใช้ห้องน้ำในสถานที่ราชการโดยส่งเสริมให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถใช้ห้องน้ำได้ตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศตามเจตจำนงของตนได้ ซึ่งกรณีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งได้จัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และหรือห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศ (All Gender Restroom) แล้ว ขณะที่บางแห่งตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวและอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงห้องน้ำตามนโยบายและการสั่งการของหน่วยงานที่กำกับดูแลต่อไป ส่วนหน่วยงานเอกชนบางแห่ง เช่น ห้างสรรพสินค้า แม้จะแจ้งว่าไม่อาจจัดหาสถานที่ที่เพียงพอสำหรับการสร้างห้องน้ำสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้ แต่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและยืนยันในหลักการให้ความเคารพในสิทธิความหลากหลายทางเพศ โดยระบุว่าบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศสามารถเลือกใช้บริการห้องน้ำได้ตามเจตจำนงของตนเองอย่างอิสระ
นายภาณุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2565 กสม. ยังได้มีความเห็นต่อร่างกฎหมาย จำนวน 39 เรื่อง เช่น ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน และร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนร่วม พ.ศ. ....
นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา กสม. โดยประธาน กสม. ยังได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี จำนวน 12 ฉบับ เพื่อเสนอความเห็นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นรายกรณีให้แก่ประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาใช้เสรีภาพในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง มาตรการคุ้มครองสิทธิคนพิการกรณีกำหนดให้โรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติเป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้ารับราชการพลเรือน ขอให้สั่งการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล และขอความอนุเคราะห์ชะลอการพิจารณาโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองปกาไสย จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
“การให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการเสนอความเห็นต่อรัฐบาล รัฐสภา และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอื่นนั้น เป็นหน้าที่และอำนาจของ กสม. ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติตามหลักการปารีส (Paris Principles) เพื่อผลักดันให้รัฐบาลให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กฎหมายบัญญัติให้ กสม. จัดทำรายงานแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรี และในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้หรือต้องใช้เวลา ในการดำเนินการให้แจ้งเหตุผลให้ กสม. ทราบโดยไม่ชักช้า ในท้ายที่สุด หากเห็นสมควร กสม. อาจเผยแพร่รายงานผลการดำเนินการของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ประชาชนทราบเป็น การทั่วไปได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตามข้อเสนอแนะหรือความเห็นของ กสม.” นายภาณุวัฒน์ กล่าว
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
12 มกราคม 2566
12-01-66-แถลงข่าวเด่น-2-2566_.pdf