แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
1. ร้องเรียนแทนกันได้หรือไม่

การร้องเรียนสามารถร้องเรียนแทนกันได้ โดยจะต้องเป็นญาติ หรือมีหนังสือมอบหมายให้ทำงานแทน มีการระบุชัดเจนว่า มอบหมายให้ทำอะไร

2. ร้องเรียนแล้ว มีกระบวนการพิจารณาอย่างไร และใช้เวลารอนานเพียงใด

1. หลักการที่รับประกันการร้องเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คือ เมื่อได้รับการร้องเรียนไม่ว่าจะดวยวิธีการใด จะมีหนังสือตอบรับการร้องเรียนภายในสามวัน
2. ในการตรวจสอบเมื่อได้รับการร้องเรียนแล้วจะพิจารณาว่า อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือไม่ ถ้าอยู่ในอำนาจหน้าที่ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนและคณะอนุกรรมการเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตรวจสอบกรณืร้องเรียน เเล้วเสนอ กสม.
3. การตรวจสอบการร้องเรียนในบางเรื่องไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาพยานหลักฐาน การสืบค้น การสอบสวน การให้ความร่วมมือของผู้ร้องเรียน และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่มีการร้องเรียน
4. หลังจากที่ กสม.พิจารณาเรื่องที่มีการตรวจสอบแล้ว จะมีรายงานผลการพิจารณาในหลายลักษณะตามเหตุผลและข้อมูลที่พบ ซึ่งอาจจะมีกรณีให้แก้ไขภายในกำหนด มีข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์รวมถึงให้มีการปรับปรุงนโยบาย แก้ไขกฏหมาย

3. คำร้องเรียนประเภทใดที่เจ้าหน้าที่รับคำร้องอาจเสนอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่รับคำร้องไว้ตรวจสอบหรือยุติเรื่อง

คำร้องที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำร้องภายในระยะเวลา หรือไม่สามารถติดต่อผู้ร้องได้
2. เรื่องที่ผู้ร้องได้รับการแก้ไขความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมหรือได้รับการชดใช้ความเสียหายอย่างเหมาะสมแล้ว
3. เรื่องที่ผู้ร้องประสงค์ขอถอนคำร้อง หรือผู้ร้องตาย หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนสาบสูญตามคำสั่งศาล โดยไม่มีทายาท หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์เข้าแทนที่ และการพิจารณาต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน
4. เรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยพิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใหม่อันอาจทำให้ผลการพิจารณาเปลื่ยนแปลงไป
5. เหตุอื่นใดที่เห็นว่าควรไม่รับคำร้องไว้ตรวจสอบ

4. คำร้องที่ทำเป็นหนังสือ ต้องจัดทำเป็นภาษาใด

คำร้องต้องจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ กรณีที่คำร้องเป็นภาษาอื่น ให้ผู้ร้องจัดแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษด้วย เว้นเเต่คณะกรรการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีมติเป็นอย่างอื่่น

5. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สังกัด กลุ่มงานประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่อะไร

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำหน้าที่ รับคำร้องเรียนในกรณีที่มีการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

6. จะร้องเรียนทางใดได้บ้าง
  1. ร้องเรียนทางจดหมาย
  2. ร้องเรียนทางโทรศัพท์ 0 2141 3800, 0 2141 3900 โทรศัพท์สายด่วน 1377
  3. ร้องเรียนด้วยวาจา ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  4. ร้องเรียนโดยส่งเรื่องร้องเรียนทางโทรสาร 0 2143 9578
  5. ร้องเรียนทางเว็บไซต์

    https://complaints.nhrc.or.th/ (คลิกที่นี่)   

  6. ร้องเรียนผ่านทางส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่คณะกรรมการฯกำหนดและประกาศ
เลื่อนขึ้นด้านบน