ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า ได้มีการทำประชามติของหมู่บ้านชาวชุมชนหลังเนิน หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ต้องการให้มูลนิธิกระท่อมพระสิริ ซึ่งเป็น ศูนย์ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณ ๔๐ คน ย้ายที่ตั้งศูนย์ออกจากชุมชนดังกล่าวไปอยู่พื้นที่อื่น เนื่องจากเกรงจะมีปัญหาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชน โดยเสียงของประชามติไม่ต้องการให้ผู้ติดเชื้ออยู่ร่วมในชุมชนหลังเนินต่อไป นั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริม การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามข่าวเรื่องนี้ และลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว เห็นว่า สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกหวาดกลัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำที่เป็นการกระทบสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อห่วงใยและข้อกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งรีบดำเนินการในขณะนี้ คือ รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกฝ่าย ต้องร่วมมือกันส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี บนพื้นฐานของความเข้าใจ และเคารพสิทธิมนุษยชนของกันและกัน จึงขอเรียกร้องและมีข้อเสนอให้ดำเนินการโดยมีมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว ดังนี้
(๑) มาตรการเร่งด่วน ขอให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องอยู่ในภาวะวิตกกังวลใด ๆ เพราะปัจจุบัน
การพัฒนาด้านการสาธารณสุข และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ หากได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
ทุกคนจะสามารถดำเนินตามวิถีชีวิตของตนได้อย่างปกติ และอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้อย่างมีความสุข
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดไป
(๒) มาตรการระยะยาว ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดนโยบาย วางแผนงาน จัดงบประมาณ และสถานที่ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ ดูแล รวมถึงจัดระบบการอำนวยความสะดวก ด้านสาธารณสุข ด้านสุขภาวะ และการสุขาภิบาล ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรต้องมีบทบาทหน้าที่ เพื่อให้ชุมชนได้รับบริการอย่างถูกสุขลักษณะ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง
(๓) สำหรับประชาชนทั่วไป ขอเชิญชวนให้เข้ามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
องค์กรอาสาสมัครต่าง ๆ ของภาคเอกชน และชุมชนภาคประชาสังคม ในการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ และยึดมั่นคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยไม่ตั้งข้อรังเกียจ หรือเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุผลด้านสภาพทางกาย หรือสุขภาพอนามัยในทุกกรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่มีความเอื้ออาทร ต่อกันและกันในสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอวิงวอนให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ได้มีบทบาทร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น โดยยึดมั่นแน่วแน่ตามหลักการสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ หากผู้ใดพบเห็น หรือผู้ใดถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถแจ้งรายละเอียด หรือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตลอดเวลาทาง สายด่วน ๑๓๗๗ เพื่อรีบดำเนินการพิจารณา ตรวจสอบ แก้ไขเยียวยา และปกป้องคุ้มครอง ด้านสิทธิมนุษยชนต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริม การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามข่าวเรื่องนี้ และลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว เห็นว่า สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกหวาดกลัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำที่เป็นการกระทบสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อห่วงใยและข้อกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งรีบดำเนินการในขณะนี้ คือ รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกฝ่าย ต้องร่วมมือกันส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี บนพื้นฐานของความเข้าใจ และเคารพสิทธิมนุษยชนของกันและกัน จึงขอเรียกร้องและมีข้อเสนอให้ดำเนินการโดยมีมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาว ดังนี้
(๑) มาตรการเร่งด่วน ขอให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องอยู่ในภาวะวิตกกังวลใด ๆ เพราะปัจจุบัน
การพัฒนาด้านการสาธารณสุข และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ หากได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
ทุกคนจะสามารถดำเนินตามวิถีชีวิตของตนได้อย่างปกติ และอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันได้อย่างมีความสุข
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดไป
(๒) มาตรการระยะยาว ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดนโยบาย วางแผนงาน จัดงบประมาณ และสถานที่ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ ดูแล รวมถึงจัดระบบการอำนวยความสะดวก ด้านสาธารณสุข ด้านสุขภาวะ และการสุขาภิบาล ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรต้องมีบทบาทหน้าที่ เพื่อให้ชุมชนได้รับบริการอย่างถูกสุขลักษณะ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง
(๓) สำหรับประชาชนทั่วไป ขอเชิญชวนให้เข้ามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
องค์กรอาสาสมัครต่าง ๆ ของภาคเอกชน และชุมชนภาคประชาสังคม ในการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ และยึดมั่นคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยไม่ตั้งข้อรังเกียจ หรือเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุผลด้านสภาพทางกาย หรือสุขภาพอนามัยในทุกกรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่มีความเอื้ออาทร ต่อกันและกันในสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอวิงวอนให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ได้มีบทบาทร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น โดยยึดมั่นแน่วแน่ตามหลักการสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ หากผู้ใดพบเห็น หรือผู้ใดถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถแจ้งรายละเอียด หรือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตลอดเวลาทาง สายด่วน ๑๓๗๗ เพื่อรีบดำเนินการพิจารณา ตรวจสอบ แก้ไขเยียวยา และปกป้องคุ้มครอง ด้านสิทธิมนุษยชนต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ