ความร่วมมือในกรอบสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions - APF) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็ง ระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคดังกล่าว โดยผ่านกิจกรรมการอบรม การสัมมนา การดูงาน การหารือในระดับสูง การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ และการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งการจัดทำท่าทีร่วมกันในเวทีการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญ โดย APF ได้รับเงินทุนสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบของค่าบำรุงจากสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติที่เป็นสมาชิก สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รัฐบาลของประเทศต่างๆในภูมิภาค อาทิ เกาหลีใต้ อินเดีย กาตาร์ และไทย รวมทั้งองค์การและหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ
กสม. ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบ APF โดยได้สมัครเป็นสมาชิกสามัญ (Full Member) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 มีสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคที่เป็นสมาชิกรวมทั้งสิ้น 22 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นสมาชิกสามัญ (มีสิทธิในการออกเสียง) จำนวน 15 แห่ง ได้แก่ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ กาตาร์ เกาหลีใต้ ไทย และติมอร์เลสเต้ และสมาชิกสมทบ หรือ Associate Member ซึ่งไม่มีอำนาจในการออกเสียง แต่สามารถเข้าร่วมการประชุมภายใต้กรอบ APF ได้ในทุกระดับ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โอมาน ซามัว เมียนมาร์ และ คาซักสถาน
สมาชิก APF จะมีการประชุมประจำปี (Annual Meeting) เป็นประจำทุกปี และการประชุมใหญ่หรือ Biennial Meeting ในทุก 2 ปี ซึ่งจะมีการเชิญผู้แทนรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเพื่อหารือถึงกิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันสมาชิก ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจ ร่วมกัน และการช่วยเหลือประเทศในภูมิภาค ที่ต้องการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า APF เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระดับภูมิภาคที่มี ความเข้มแข็งที่สุดในปัจจุบัน
โครงสร้างการดำเนินงาน
1. สมาชิก
ปัจจุบัน สมาชิกของ APF ประกอบด้วยสมาชิกสามัญจำนวน 15 ประเทศ ซึ่งเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ก่อตั้งขึ้นสอดคล้องกับหลักการปารีส ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ กาตาร์ เกาหลีใต้ ไทย และติมอร์เลสเต้ นอกจากนี้ APF ยังมีสมาชิกสำรองอีก 2 ประเทศ ได้แก่ มัลดีฟส์ และ ศรีลังกา ซึ่งประเทศสมาชิกต่างๆ ล้วนเป็นตัวแทนของความแตกต่างของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
2. คณะกรรมการบริหาร (The Forum Council)
คณะ กรรมการบริหาร (The Forum Council) เป็นกลไกที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจให้นโยบาย พิจารณารับสมาชิกใหม่ และทำหน้าที่อื่นๆ ตามธรรมนูญของ APF โดย Forum Council ประกอบด้วยผู้แทนอาวุโสของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่ละสถาบันที่เป็น สมาชิกสามัญ
ทั้งนี้คณะ Councilor จะเลือกประธาน (ปกติจะเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีนั้นๆ) และรองประธาน 2 คน (ซึ่งเป็นอดีตเจ้าภาพการประชุมประจำปี และเจ้าภาพการประชุมในอนาคต) โดยมีวาระการดำเนินงาน 1 ปีหมุนเวียนกันไป
3. คณะผู้บริหารระดับสูง (Senior Executive Officers - SEO)
เครือ ข่ายผู้บริหารระดับสูง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติที่เป็นสมาชิก APF ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารองค์กร นโยบายขององค์กร การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร รวมถึงการติดต่อประสานงานระหว่างกันในการทำงานในระดับภูมิภาค เช่น การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ การฝึกอบรมด้านการสืบสวนสอบสวน การประชุมประจำปี หรือการสัมมนาเชิงวิชาการอื่นๆ
4. คณะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (Advisory Council of Jurists-ACJ)
คณะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เป็นคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายทำหน้าที่เกี่ยวกับการตีความและการใช้กฎหมาย สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงการให้ความเห็นด้านกฎหมายระหว่างประเทศและข้อเสนอแนะเรื่องสิทธิมนุษย ชนต่างๆ ตามที่ APF ร้องขอ ซึ่งข้อวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ ถือเป็นการสร้างแนวมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของภูมิภาค
สมาชิกสามัญจะเสนอชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายเพื่อเป็นผู้แทนของประเทศ นั้นๆ เพื่อทำงานในคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย โดยที่ผ่านมา กสม. ได้ทาบทาม ศ.วิฑิต มันตาภรณ์ เข้าร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ACJ อนึ่ง ปัจจุบัน APF ได้ปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของ ACJ ที่สำคัญ ดังนี้
- จากเดิมที่ประเทศสมาชิกเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็น ACJ สามารถดำรงตำแหน่งได้ 5 ปี ปัจจุบันลดเวลาดำรงตำแหน่งจาก 5 ปี เหลือ 3 ปี แต่สามารถดำรงตำแหน่งต่อได้ 2 วาระ
- การกำหนดหัวข้อในการศึกษา (reference) ได้เปลี่ยนแปลงโดยให้มีกระบวนการคัดเลือกโดยคณะอนุกรรมการร่วมระหว่าง APF กับ ACJ โดยให้สมาชิก APF แต่ละประเทศหารือกับ ACJ และ NGOs ภายในประเทศพร้อมนำเสนอหัวข้อและคำถามที่ต้องการศึกษา โดย ACJ จะจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ และให้มีกระบวนการในประเทศพิจารณารายงานเพื่อรายงานสถานการณ์ในประเทศต่อที่ ประชุมในการประชุมประจำปีครั้งต่อไป
5. ฝ่ายเลขานุการ (APF Secretariat)
ฝ่าย เลขานุการเป็นส่วนงานที่นำการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารเพื่อนำมา ดำเนินการ และบริหารงานกิจการทั่วไปของ APF โดยปัจจุบัน APF มีสำนักงานของฝ่ายเลขานุการอยู่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย