thumbnail content

นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"หลักสิทธิมนุษยชน คือ หลักการสร้างความยุติธรรมในสังคมไทย"
ประวัติการศึกษา

- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2514
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2520
- วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์ พ.ศ. 2525

ประสบการณ์

- ประกอบวิชาชีพอิสระ สาขาแพทย์ คลีนิคนิรันดร์การแพทย์

ทำงานกิจกรรมนักศึกษา
-นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2519
-กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519
-กรรมการศูนย์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 – 2518

การทำงานราชการ
-ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2521 – 2523
-นายแพทย์ 8 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและหัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ประสบการณ์ทางสังคม
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี พ.ศ. 2536 – 2540
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำสถาบันราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2546 – 2548
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2545 – 2547
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2550 - 2552
-อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี
-อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปสังคมและการเมือง
-ประธานองค์กรกลางการเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2535 , 2538 และ 2539
-คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชนภาคอีสาน ของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)
-คณะกรรมการรณรงค์ปฏิรูปการเมือง (คปก.) จังหวัดอุบลราชธานี
-คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2540
-คณะกรรมการเตรียมการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2541
-รักษาการผู้อำนวยการการเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2541 – 2542
-ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง
-ภาคอีสานตอนล่างมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2541
-ประธานอนุกรรมการวิทยุชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2541
-ผู้ประสานงานการจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2542 ของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

การทำงานในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2543 – 2549)
-ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา (พ.ศ. 2546 – 2549)
-เลขานุการคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา (พ.ศ. 2544 – 2546)
-เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและตรวจสอบทุจริต วุฒิสภา
-คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา (พ.ศ. 2543 – 2544)
-คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา (พ.ศ. 2543 – 2544)

การทำงานในรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (พ.ศ. 2550 – 2551)
-รองประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและแผนแม่บทพัฒนาการเมือง
-ประธานคณะกรรมการร่างแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อการปฏิรูปสังคมการเมือง
-ประธานคณะกรรมการศึกษาวางแผนแม่บทระบบการจัดการโทรทัศน์ดาวเทียม
-ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การพัฒนากระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
-กรณีผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง

ปัจจุบัน
-ประธานมูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี
-ประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต จังหวัดอุบลราชธานี
-กรรมการมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์
-กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางการเลือกตั้ง

งานเขียน

1. สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน ป่า และลุ่มน้ำ โดยมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตได้ดำเนินงานทำให้เกิดเครือข่ายสตรีพิทักษ์ป่าชุมชนดงนาทาม ปี 2548 เครือข่ายเยาวชนพิทักษ์ป่าชุมชนดงนาทาม ปี 2547 เกิดรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้ การจัดการป่าชุมชนเพื่อชุมชนสุขภาวะ
2. สิทธิชุมชนกับการสร้างสุขภาวะชุมชนในสังคม ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมูลนิธิประชาสังคมได้สร้างการรวมตัวเป็นสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นพื้นที่ ทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ตัวอย่างกรณีคุ้มครองสิทธิ ได้แก่ กรณีผลกระทบอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การทำงานพัฒนาสุขภาวะของชุมชนในเมือง กรณีการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน ในเมือง การดูแลปัญหาเด็กและเยาวชนในองค์การบริหารส่วนตำบล การพัฒนาชุมชนวัฒนธรรมวัดหลวง
3. สิทธิชุมชนกับกระบวนการยุติธรรมชุมชน มูลนิธิประชาสังคมได้มีส่วนร่วมใน การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิชุมชนกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคมท้องถิ่นและเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งขจัดความรุนแรงในพื้นที่ โดยกระบวนการยุติธรรม 2 กรณี ได้แก่ กรณีทุบ ทางเท้า และกรณีตลาดชุมชนกกยาง ดังนั้น กรณีทุบทางเท้าและกรณีตลาดกกยางจึงเป็น การทำงานที่เน้นให้เห็นถึงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนโดยใช้กระบวนการยุติธรรมทางศาลปกครองในการตัดสินวินิจฉัย
4. ผลงานด้านสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร โดยมูลนิธิประชาสังคม ทำให้เกิดศูนย์ข่าวประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างสื่อภาคประชาชนในพื้นที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารชุมชน
5. ปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนและการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม โดยบทบาทของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และคณะกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้แก่ กรณีฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพติด กรณีการสลายผู้ชุมนุมหน้าโรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ ในการคัดค้านโครงการท่อก๊าซ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และกรณีตากใบ จังหวัดนราธิวาส
6. การตรวจสอบการปิดกั้นและลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ในการสื่อสารของประชาชน โดยคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปสื่อในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา
7. การตรวจสอบกรณีทุจริตเชิงนโยบายขายหุ้นชินคอร์ป 73,000 ล้านบาท ของ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภา
8. การตรวจสอบการละเมิดสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
9. การทำงานในตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและแผนแม่บทพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และกองทุนพัฒนาการเมือง

เลื่อนขึ้นด้านบน