thumbnail content

นางวิสา เบ็ญจะมโน

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"มีชีวิต มีสิทธิ"
ประวัติการศึกษา

- สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513
- พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2539

ประสบการณ์

- ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าผู้ตรวจราชการ ระดับ 10 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

- นักสังคมสงคราะห์ตรี – โท โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรมประชาสงเคราะห์ 
พ.ศ. 2514 – 2521
- นักสังคมสงเคราะห์ ระดับ 4 – 5 ฝ่ายวางแผนและประสานงาน กองสงเคราะห์เด็กและบุคคล 
วัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2522 – 2523
- หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสวัสดิภาพสตรี กรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2523 – 2533
- ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ พระประแดง กรมประชาสงเคราะห์ 
ระดับ 7 – 8 พ.ศ. 2533 – 2535
- ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ระดับ 8 พ.ศ. 2536 – 2542
- ผู้อำนวยการกองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น ระดับ 8 พ.ศ. 2542 – 2544
- ผู้ตรวจราชการ กรมประชาสงเคราะห์ ระดับ 9 พ.ศ. 2544 – 2545
- รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ
และผู้สูงอายุ ระดับ 9 พ.ศ. 2545 – 2546
- ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าผู้ตรวจราชการ และโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ระดับ 10 พ.ศ. 2546 – 2550

รางวัลที่เคยได้รับ

- ขณะที่เป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนพิการพระประแดง ได้มีข้าราชการในกองราชเลขาในองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ติดตามผลงานโครงการพระราชดำริเครื่องสานย่านลิเภาในสถานสงเคราะห์ดังกล่าว ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและได้รับการบอกเล่าจากผู้รับการสงเคราะห์ว่า ได้รับการดูแลอย่างดี ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ในปี พ.ศ. 2535 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของขวัญปีใหม่ให้พร้อมกับนักสังคมสงเคราะห์และ พี่เลี้ยงของเรือนโครงการย่านลิเภาเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน โดยข้าราชบริพารเป็น ผู้อัญเชิญมามอบให้
- สืบเนื่องจากการนำผู้บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน พระองค์ท่านทรงพระเมตตารับสั่งถามถึงเครื่องดนตรีปี่พาทย์มอญ เมื่อทรงทราบว่าเป็นชุดที่ขอยืมมาจึงพระราชทานปี่พาทย์มอญใหม่ทั้งชุดให้แก่สถานสงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ พระประแดง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ผู้รับการสงเคราะห์เป็นล้นพ้น
- ปี พ.ศ. 2538 ได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการดีเด่นเพื่อเด็ก จากองค์กรภาคเอกชน รวม 9 หน่วยงาน
- ปี พ.ศ. 2542 ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าที่มีผลงานน่ายกย่องจากสมาคมพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ปี พ.ศ. 2543 ได้รับประกาศเกียรติคุณจาก The Chief Constable of Northumbria Police ประเทศอังกฤษ ในฐานะที่ได้ใช้ความพยายามในการปรับปรุงการให้บริการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในประเทศไทย
- ปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ได้รับเชิญจากคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปบรรยายพิเศษ และเป็นกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาปริญญาโท และปี 2545 ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ เพื่อประกอบการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ (ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รวมทั้งเป็นกรรมการตรวจผลงานวิจัยของนักวิชาการที่ส่งประกวดในบางโอกาส
- ปี พ.ศ. 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา
- ปี พ.ศ. 2544 – พฤษภาคม 2546 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำนาญการประจำ คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา
- ปี พ.ศ. 2546 ได้รับประกาศเกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2545 จากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์
- ปี พ.ศ. 2535 – 2550 เป็นผู้แทนกระทรวงในการบรรยาย อภิปราย แถลงข่าว ประชุม เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ สวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

งานเขียน

- เป็นนักสังคมสงเคราะห์ในโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ (ในขณะนั้น) ทำหน้าที่คัดเลือกเด็กจากครอบครัวยากจนในชุมชนดินแดงให้ได้รับโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา อันเป็นการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ทัดเทียมกับครอบครัวที่ฐานะดี 
- ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิพิบูลประชาสรรค์ โดยรณรงค์จัดหาเงินทุนตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนก่อตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อ พ.ศ. 2521 และดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน
- เมื่อดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสวัสดิภาพสตรี ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศในกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศส่งเรื่องมาให้ กลั่นกรอง และพิจารณาให้ความเห็นว่าสมควรได้รับหนังสือเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้ถูกล่อลวงหรือชักนำโดยผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันจะเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้ขอหนังสือเดินทางเหล่านั้น
- เป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมพนักงาน ในสถานบริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เพื่อเป็นการสนองนโยบายการท่องเที่ยวของประเทศจนบรรลุ เป้าหมาย โครงการดังกล่าวได้ช่วยป้องกันปัญหาการล่อลวงหญิงและเป็นการเสริมสร้างความรู้ ให้พนักงานบริการได้ทำหน้าที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ไม่ให้กระทำการใด ๆ ที่จะเกิดความเสื่อมเสียแก่ประเทศชาติ นับเป็นการส่งเสริมความรู้และปกป้องคุ้มครองสิทธิในโอกาสเดียวกัน
- ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี จากการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน จากข้อมูลการส่ง ตัวหญิงที่ถูกชักนำล่อลวงไปเพื่อการค้าประเวณีในต่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศและ ข่าวหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้ถูกล่อลวง ผู้ล่อลวง พฤติการณ์ วิธีการล่อลวง ประเทศปลายทาง สภาพปัญหาที่เกิด และนำข้อมูลนั้นมาศึกษาวิเคราะห์กำหนดโครงการแนวทางป้องกันการล่อลวงหญิง และรณรงค์เพื่อต่อต้านการค้าประเวณีและการค้ามนุษย์
- ขณะที่ทำหน้าที่ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนพิการ ได้ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของข้าราชการเจ้าหน้าที่ ทำให้สถานสงเคราะห์สะอาด และคุณภาพชีวิตคนพิการดีขึ้นเป็นที่ประจักษ์ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคกายอุปกรณ์ (อุปกรณ์ในการทำกายภาพบำบัด) และอาคารสิ่งก่อสร้างราคาประมาณ 7 ล้านบาทเศษ เป็นการช่วยให้คนพิการเข้าถึงบริการและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่เหมาะสมจากภาครัฐและภาเอกชนอย่างเต็มที่
- สร้างเครือข่ายการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ทั้งเรื่องเด็กเร่ร่อน เด็กถูกทำร้ายทารุณ เด็กปฐมวัย และเด็กต่างชาติ โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรด้านสิทธิเด็ก รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มโครงการการทำงานแบบสหวิชาชีพ เช่น ครู นักสังคมสงเคราะห์หรือ นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ แพทย์ เพื่อร่วมกันคุ้มครองและพัฒนาเด็กและ เยาวชน ตลอดจนครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ช่วยให้เด็กได้รับการคุ้มครองจาก ภาครัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม และรับการบำบัดฟื้นฟู ตามกรณีอันควร
- เมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรร่วมอภิปรายกับแพทย์ อัยการ และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้นำเสนอรูปแบบการทำงานแบบสหวิชาชีพและเสนอปัญหาที่เด็กถูกกระทำทารุณทางเพศจะต้องถูกทำร้ายทารุณซ้ำอีกหลายครั้งจากการ ถูกซักถาม และสอบสวนจากพนักงานสอบสวน อัยการ และศาล ที่ไม่เข้าใจจิตวิทยาเด็กอย่าง แท้จริง ตลอดจนถูกนำไปชี้ตัวผู้ต้องหาที่มีการเผชิญหน้าซึ่งเท่ากับเป็นการซ้ำเติมให้เด็กต้องเจ็บช้ำเป็นซ้ำสอง และเพื่อมิให้เด็กต้องถูกกระทำทารุณซ้ำอีก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไขให้เป็นสากลขึ้น จน ดร.สายสุรีย์ จุติกุล ได้ขอให้อัยการนำเรื่องไปพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไขกฎหมาย มิให้เด็กถูกกระทำทารุณซ้ำ อันเป็นที่มาของการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เรื่องการสืบพยานเด็ก ซึ่งมีการร่วมทำงานโดยสหวิชาชีพ (นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ตำรวจ อัยการ) และร่วมเป็นกลุ่มแกนหลักศึกษารวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่ทำงานด้าน การคุ้มครองเด็ก 25 องค์กร 35 หน่วยย่อย จนสามารถประมวลข้อมูลในภาพรวมของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองกรณีเด็กถูกทอดทิ้งและถูกทำร้ายทารุณ ระหว่างปี 2535 – 2537 ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนา สัมมนาและจัดหลักสูตรอบรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (CHILD PROTECTION) ขึ้น โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสก๊อตแลนด์มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมเป็นวิทยากร (Training of the Trainer : TOT) หลังจากนั้น วิทยากรเหล่านั้นก็จะได้จัดอบรมบุคลากรในหน่วยงานของตนต่อ ๆ ไป อันเป็นจุดกำเนิดให้เกิดการแตกตัว ในการตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีขึ้นในหลายหน่วยงาน
- เป็นผู้ได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ให้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจจากเมือง Northumbria ประเทศอังกฤษ ที่ได้เข้ามาศึกษาเรื่อง
การคุ้มครองเด็กในประเทศไทย จำนวน 3 คน เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับตำรวจ Northumbria และมีส่วนร่วมในการจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ของไทย ต่อเนื่องกัน 2 ปี จำนวนปีละ 2 รุ่น ในปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ได้ร่วมเป็นวิทยากรกับตำรวจ Northumbria ในโครงการดังกล่าวด้วย
- ร่วมเป็นกรรมการหรือผู้แทนของหน่วยงานหลายคณะ อาทิ คณะกรรมการคุ้มครอง แรงงานเด็ก คณะกรรมการโครงการขจัดปัญหาการใช้แรงงานเด็ก (IPEC:ILO) คณะกรรมการ ศูนย์เด็กด้อยโอกาส และคณะกรรมการกองทุนเวทีสิทธิเด็ก คณะกรรมการที่ปรึกษาในการจัดทำตัวชี้วัดสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 
- เป็นกรรมการและคณะทำงานในการร่วมจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กครั้งที่ 2 ของประเทศไทย (2538 – 2543) และรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการจัดทำ รายงานด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กในสภาวะยากลำบาก ตามปฏิญญาระดับโลกว่าด้วย
การอยู่รอดของเด็ก การปกป้องและการพัฒนาเด็ก (2533 – 2543) 
- เป็นคณะทำงานจัดเตรียมคำกล่าวของผู้แทนประเทศไทย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซี่ยนด้านสวัสดิการสังคมซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2544
- เป็นผู้ริเริ่มจัดทำตัวชี้วัดพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยนำไปใช้กับสถานรับเลี้ยงเด็กในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ 8 แห่ง และปรับปรุงเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างแก่สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนที่ขออนุญาตจัดตั้งจากกรมประชาสงเคราะห์
- ได้ร่วมรับผิดชอบเตรียมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการตรวจราชการแนวใหม่ โดยการตรวจราชการแบบบูรณาการ และเน้นการตรวจราชการเชิงธรรมาภิบาลที่ทุกหน่วยงานที่รองรับการตรวจราชการต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานแต่ละโครงการเพื่อเป็นการทำงานในเชิงป้องกันและเป็นการทำงานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธ
- ให้คำแนะนำงานในช่วงที่เปลี่ยนผ่านงานจากด้านการประชาสงเคราะห์สู่การพัฒนาสังคม
- เป็นโฆษกกระทรวง ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง 
- เป็นอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 
- เป็นที่ปรึกษามูลนิธิพิบูลประชาสรรค์ (โรงเรียน) กรรมการมูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์ และกรรมการมูลนิธิเด็กหญิงบ้านราชวิถี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

เลื่อนขึ้นด้านบน