thumbnail content

นายแท้จริง ศิริพานิช

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"รู้สิทธิ รักสิทธิ ไม่ละเมิดสิทธิ"
ประวัติการศึกษา

- การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2550
- แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเซาธ์เวสเตอร์น ประเทศฟิลิบปินส์ พ.ศ. 2523

ประสบการณ์

- แพทย์ ระดับ 9 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- กรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ประสบการณ์

- จักษุแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2525 - 2535
- ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์
- กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 – 2545
- หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 – พฤษภาคม 2552
- ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก ทำงาน ณ กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย
- ผู้ก่อตั้งศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข
- ผู้ก่อตั้งหน่วยกู้ชีพนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข
- ผู้ริเริ่มโครงการเมาไม่ขับ
- ผู้ริเริ่มโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา
- ผู้ริเริ่มโครงการเลิกแล้วรวย
- ผู้ริเริ่มโครงการทอดกฐินไม่กินเหล้า
- ผู้ผลักดันการไม่โฆษณาสุราในช่วงเวลา 05.00 – 22.00 น.
- ผู้ผลักดันการห้ามขายสุราในปั๊มน้ำมัน
- ผู้ผลักดันให้รัฐกำหนดวันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ
- ผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายจราจรทางบก เพื่อกำหนดเพิ่มเติมห้ามมิให้ผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ ยกเว้นการใช้อุปกรณ์เสริมโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือโทรศัพท์
- ผู้ผลักดันให้มีการเพิ่มโทษผู้เมาแล้วขับ
- ผู้ผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติควบคุมการบริโภคสุรา
- ผู้ผลักดันให้มีการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรในเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่ (7 วันอันตราย)
- ผู้ผลักดันให้มีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์โดยเครื่องตรวจลมหายใจในผู้ขับขี่ที่มึนเมาสุรา
- ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ
- ผู้ดำเนินรายการพิเศษถนนสีขาว ทางวิทยุ สวพ. FM.91 MHZ
- ผู้ดำเนินรายการพิเศษเมาไม่ขับ ทางวิทยุ จส. 100
- อาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในหัวข้อ TRAFFIC ACCIDENT
- FOCAL POINT ด้าน INJURY PREVENTION ขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย
- ผู้บรรยายพิเศษ PROFESSIONAL DRIVER ของโรงเรียนสอนขับรถ PESO
- คณะกรรมการของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
- กรรมการของคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ในคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
- ผู้ริเริ่มทำ CURRICULUM ของ SURVIVAL SWIMMING COURSE หลักสูตรการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ
- คณะกรรมการ GLOBAL ROAD SAFETY PARTNERSHIP ของประเทศไทย
- กรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคม

รางวัลที่เคยได้รับ

- Outstanding Executive in Social Work from Society for Thailand Foundation Year 1997
- Outstanding  person who devote oneself  supporting disable person year 2007 from Ministry of Social Development and Human Security
- Outstanding  individual person who achieved excellent public relations performances and extensively promoted communication and public relations professions to the public  with the 23rd “Sang Ngern” (Silver Conch) Award for 2009-2010 given by the Public Relations Society of Thailand (PRST)

งานเขียน

                         นอกจากนั้นยังได้ให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น จากโรคหัวใจ หรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม ฯลฯ จนได้รับการยอมรับจากสังคม และกระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญจึงได้ขยายผล จนในปัจจุบันทุกโรงพยาบาลจะมีหน่วยกู้ชีพประจำทุกโรงพยาบาล และหน่วยนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นองค์กรอิสระภายใต้การกำกับของรัฐที่ชื่อว่า สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่จะพัฒนาให้มีการช่วยเหลือฉุกเฉินในทุก สถานการณ์โดยทีมแพทย์และผู้ช่วยแพทย์ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ทั้งด้านคุณภาพและ ความรวดเร็ว ทำให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินในปัจจุบันได้รับการคุ้มครองให้มีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมมาก 

                         นอกจากนั้นยังได้ให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น จากโรคหัวใจ หรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม ฯลฯ จนได้รับการยอมรับจากสังคม และกระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญจึงได้ขยายผล จนในปัจจุบันทุกโรงพยาบาลจะมีหน่วยกู้ชีพประจำทุกโรงพยาบาล และหน่วยนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นองค์กรอิสระภายใต้การกำกับของรัฐที่ชื่อว่า สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่จะพัฒนาให้มีการช่วยเหลือฉุกเฉินในทุก สถานการณ์โดยทีมแพทย์และผู้ช่วยแพทย์ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ทั้งด้านคุณภาพและ ความรวดเร็ว ทำให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินในปัจจุบันได้รับการคุ้มครองให้มีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมมาก 

                         ในพ.ศ. 2539 ได้ตระหนักว่าประชาชนชาวไทยต้องมาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นจำนวนมากถึงปีละกว่า 17,000 คน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุสำคัญของ การเสียชีวิตของประชาชนชาวไทยเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งชีวิตที่ต้องเสียไปเหล่านั้นไม่ได้รับการ คุ้มครองที่ดีจากภาครัฐดังเช่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว การสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจะน้อยกว่าบ้านเราหลายเท่าตัว เพราะเขาถือว่าเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ถ้าได้มีมาตรการคุ้มครองชีวิตของประชาชนอย่างดี จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเบื้องต้นพบว่า สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนมากมายเป็นเพราะสาเหตุจากการเมาแล้วขับมากถึง 80 % จึงได้ริเริ่มโครงการ เมาไม่ขับขึ้น โดยการรณรงค์ทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความตระหนักถึงอุบัติภัยทางถนนที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยเพื่อให้ประชาชนรู้จักระวังตัวเอง และให้ภาครัฐมีมาตรการออกมาเพื่อให้ ประชาชนไทยมีสิทธิในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เพราะประชาชนทุกคนต้องใช้รถใช้ถนน โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้และไม่มีใครที่ไม่ต้องใช้รถใช้ถนน -ดังนั้น ในเมื่อการใช้รถใช้ถนนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐต้องทำให้การเดินทางของประชาชนปลอดภัยมากที่สุด นั่นคือไม่เกิดอุบัติเหตุเลย หรือถ้าเกิดก็เป็นเรื่องสุดวิสัย แต่จะเห็นได้ว่าในประเทศไทย สาเหตุใหญ่ของการเกิดอุบัติเหตุ คือ การเมาแล้วขับ นั่นก็หมายความว่ารัฐยังละเลยโดยปล่อยให้คนเมาออกมาขับรถและไปทำร้ายผู้บริสุทธิ์ที่ไม่รู้เรื่อง 

                         หลังจากการรณรงค์ในเรื่องเมาไม่ขับเป็นเวลากว่า 10 ปี จำนวนผู้เสียชีวิตลดจาก 17,000 คนต่อปีเหลือประมาณ 11,000 คนต่อปี จึงเห็นได้ว่าสามารถคุ้มครองชีวิตของคนไทยได้มากถึง 5,000 – 6,000 คนต่อปี จนปัจจุบันได้ดำเนินการจนรัฐบาลได้นำเรื่องการลดอุบัติเหตุทางถนนมากำหนดเป็นวาระแห่งชาติทำให้มีการตื่นตัวกันมาก ดังจะเห็นได้ว่ามีการรณรงค์ใหญ่ 2 ช่วง ในแต่ละปี คือเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ หรือที่เรารู้จักกันในนามของ 7 วันอันตราย ซึ่งในอนาคตจะต้องรณรงค์ให้เป็น 365 วันอันตราย เพราะอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นทุกวัน

เลื่อนขึ้นด้านบน